สนฉัตร
ชื่ออื่นๆ :
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : สนฉัตร (Norfolk island pine)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Araucaria heterophylla (Salisb.) Franco
ชื่อวงศ์ : Araucariaceae
ลักษณะของสนฉัตร
สนฉัตรเป็นไม้ขนาดใหญ่ มีอายุนานหลายสิบปี มีลำต้นสูงมากกว่า 6 เมตร ขึ้นไป จนถึง 45-60 เมตร ลำต้นที่มีขนาดใหญ่สามารถมีขนาดได้ถึง 1.5-3 เมตร เปลือกด้านนอกสามารถแกะออกได้เป็นสะเก็ดบางๆ กิ่งแตกออกด้านข้างลำต้นเป็นวงรอบ 4-7 กิ่ง แต่โดยทั่วไปมักจะมีประมาณ 5 กิ่ง ในแต่ละกิ่งจะมีกิ่งย่อยแตกออกตามความยาวของกิ่ง และจะโค้งขึ้นเล็กน้อยที่บริเวณปลายกิ่ง
ใบของสนฉัตรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใบอ่อนที่แตกออกใหม่จะมีลักษณะโค้งเข้า มีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะนุ่ม สีเขียวสด ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร และอีกกลุ่มคือใบที่แก่แล้วจะมีลักษณะปลายใบมีขนาดเล็ก และแหลม ขึ้นเรียงซ้อนกันเป็นเกล็ดหนาทึบ และขึ้นเป็นเกลียวรอบกิ่ง อาจมีลักษณะตรงหรือโค้ง ขนาดยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร
ดอกสนฉัตรประกอบด้วยเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียรวมอยู่ในต้นเดียวกันหรืออาจแยกต้นกันอยู่ ส่วนมากจะพบแยกต้นกันอยู่ แต่จะพบบ้างเล็กน้อยที่ทั้งสองเกสรอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกจะแทงออกบริเวณยอด มีดอกตัวผู้อยู่ด้านบน ก้านเกสรแต่ละอันประกอบด้วยอับละอองเกสร โดยทั่วไปจะมีสีเหลืองม่วงหรือแดงเข้ม
ส่วนเกสรตัวเมียเกิดในกระเปราะรูปกรวย เป็นแบบ clavate หรือ sub-globose ประกอบด้วยกลีบดอกที่เป็นหมันที่อยู่ด้านล่าง ส่วนด้านบนจะเป็นที่สร้างเมล็ด และ scale จำนวนมาก เรียงซ้อนกันเป็นวงต่อเนื่องกันกับใบ ซึ่งแต่ละอันจะสร้างเป็น 1 เมล็ด
เมล็ด
เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร บริเวณโคน scale มีจำนวนมาก และมีการเรียงตัวแบบเกลียวอยู่ชิดซ้อนกันเป็นเกล็ดๆ ตรงส่วนปลายมีลักษณะยาวเป็นแบบ lancaolate acuminate ตรงบริเวณขอบมีลักษณะบางลงเป็นปีก (wing) ส่วนบริเวณยอดจะหนา และแข็ง และอยู่ติดกับเมล็ดเดียวแบนๆไม่มีปีก
ในแต่ละ scale จะประกอบด้วยเมล็ด 1-6 เมล็ด มีขนาดความกว้างมากกว่าความยาว ขนาดยาวประมาณ 7.5-10 เซนติเมตร กว้าง 8.75-11.25 เซนติเมตร ตรงบริเวณปลายของ scale จะแบน และนุ่ม
การขยายพันธุ์ของสนฉัตร
เมล็ด และการปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่สนฉัตรต้องการ
ประโยชน์ของสนฉัตร
จัดเป็นไม้สนประดับชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกในปัจจุบัน เนื่องจากแตกกิ่งแผ่ออกเป็นชั้น ใบมีสีเขียวสวยงาม ลำต้น และทรงพุ่มไม่ใหญ่ เหมาะสำหรับการปลูกในกระถาง ปลูกในสวนหย่อม ต้นเล็กใช้ประดับอาคาร และส่วนของเมล็ดสนฉัตร สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้
สรรพคุณทางยาของสนฉัตร
น้ำยางสนฉัตรที่ให้สีค่อนข้างขาว และมีกลิ่นหอม จึงนิยมนำมาทำเทียนไข ส่วนทางการแพทย์มีการนำน้ำยางใช้สำหรับทาแก้ฟกซ้ำ แก้ปวดเมื่อย และรักษาบาดแผล รวมไปถึงการทำให้แห้งเพื่อใช้เป็นยาบรรเทาความเจ็บปวด
คุณค่าทางโภชนาการของสนฉัตร
การแปรรูปของสนฉัตร
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10467&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com