ต้นหูกวาง
ชื่ออื่นๆ : ตาปัง, ตัดมือ, ตาแปห์, หลุมปัง และโคน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ลักษณะของต้นหูกวาง
ต้น ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เปลือกเรียบ แตกกิ่งตามแนวนอนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 12-25 เซนติเมตร โคนใบสอบแคบ เว้า
ดอก ดอกเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ผล รูปไข่หรือรูปรีแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร เมื่อแห้งสีดำคล้ำ
การขยายพันธุ์ของต้นหูกวาง
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ต้นหูกวางต้องการ
ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ขึ้นตามหาดทราย และขึ้นได้ทั่วไป
ประโยชน์ของต้นหูกวาง
- ใบ มี “สารแทนนิน” ช่วยปรับสภาพน้ำให้มีความเป็นกรด-ด่างที่สูงขึ้น ทำให้เหมาะสำหรับการนำใบ “แห้ง” ไปแช่ในน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ เพื่อให้ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะ ปลากัด ซึ่งเป็นปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีความเป็นกรดสูง นอกจากนี้ ยังมีสารช่วยยับยั้งเชื้อราและแบตทีเรียได้เป็นอย่างดี รวมทั้งรักษาอาการบาดเจ็บของปลาได้ด้วย
- ใบ ใช้ย้อมหนังสัตว์ การผลิตหมึกสี รวมทั้งการผลิตสีดำ
- เนื้อไม้ นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี
- “ต้นหูกวาง” เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตราด เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
- หูกวางเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากให้ความร่มรื่น
- เมล็ด สามารถรับประทานได้ และยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายด้วย
สรรพคุณทางยาของต้นหูกวาง
- เปลือกและผล ใช้รักษาแก้อาการท้องเสีย
- เปลือกและใบนำมาบด พอกแผล ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น
- ใบ ที่มีสีแดงมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ
- ผล มีสรรพคุณเป็นยาถ่าย
- เมล็ด รับประทานได้ ช่วยบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ
คุณค่าทางโภชนาการของต้นหูกวาง
การแปรรูปของต้นหูกวาง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11644&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment