สมอเทศ ผลรสเปรี้ยวและฝาดจัด เป็นยาระบายอ่อน ๆ

สมอเทศ

ชื่ออื่นๆ : สมอชิต

ต้นกำเนิด : อินเดีย พม่า ไทย

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia arjuna Wight and Arn.

ชื่อวงศ์ :  Combretaceae

ลักษณะของสมอเทศ

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆใบยาวตามลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ

ใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆคลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดล่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ

ผล รูปร่างป้อม ผลคล้ายสมอไทย แต่เหี่ยวเป็นร่อง แข็ง

ต้นสมอเทศ
ต้นสมอเทศ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาอมน้ำตาล
ใบสมอเทศ
ใบสมอเทศ ใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป

การขยายพันธุ์ของสมอเทศเทศ

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สมอเทศต้องการ

ประโยชน์ของสมอเทศ

สรรพคุณทางยาของสมอเทศ

ผล รสเปรี้ยวและฝาดจัด  ระบายอ่อน ๆ ระบายเสมหะ ระบายลมรู้ถ่าย รู้ปิดเอง แก้เสมหะ ทำให้ลมเดินสะดวก

สมอเทศ พบทั่วไปในประเทศอินเดียและศรีลังกา มีชื่อเรียกในภาษาสันสกฤต ภาษฮินดี ภาษาเบงกาลีและภาษาอังกฤษเหมือนกันว่า “อรชุน” (Arjun) มีปลูกในประเทศไทยนานแล้ว บางถิ่นเรียก “ต้นรกฟ้าข้าว” อาจเป็นเพราะคล้ายต้นรกฟ้า สมอเทศที่มีขายในร้านขายยาในประเทศไทย ส่วนมากมาจากอินเดีย ผลเล็กกว่าสมอไทยแต่มีเหลี่ยมมากว่าสมอไทย บางตำราเรียกว่า “สมอชิต”อยู่ในพิกัดตรีสมอ จำนวนสมอ 3 อย่าง ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก ลูกสมอเทศ สรรพคุณแก้เสมหะ แก้ไข้ บำรุงธาตุ ผายธาตุ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง

ผลสมอเทศ
ผลสมอเทศ ผลรูปร้างป้อม เหี่ยวเป็นร่อง แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของสมอเทศ

การแปรรูปของสมอเทศ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10005&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment