ไคร้เครือ
ชื่ออื่นๆ : ไคเครือ, ไคเคือ, ไคร้เครือ, รังไคร้เครือ ( ไทย )
ต้นกำเนิด : กัมพูชา, ไทย
ชื่อสามัญ :-
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aristolochia sp
ชื่อวงศ์ : Aristolochia
ลักษณะของไคร้เครือ
ต้น เป็นไม้เถาลำต้นเกลี้ยง รากมีอนุพันธ์ของกรดอะริสโทโลคิก (Aristolochic acid) ซึ่งเป็นพิษต่อไต
ใบ ใบเดี่ยว เป็นรูปหัวใจ หลังใบมีขนนุ่ม ท้องใบมีขนห่างมีต่อมเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วไป ก้านใบด้านบนเป็นร่อง มีขนตามแนวด้านข้าง
ดอก ดอกช่อใหญ่ ดอกสีน้ำตาลอมม่วง
ผล ผลเป็นผลแห้งแตก เมล็ดรูปหัวใจ มีปีก
การขยายพันธุ์ของไคร้เครือ
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ไคร้เครือต้องการ
ประโยชน์ของไคร้เครือ
- เป็นพรรณไม้เถา ชนิดที่ลงรากใหญ่ เช่นโลดทนง หรือเจตพังคี
- ราก ใช้เป็นยา
สรรพคุณทางยาของไคร้เครือ
ราก มีรสขม ใช้รักษาอาการเป็นไข้จับสั่น แก้ไข้ ไข้ครั่งเพ้อ รักษาโรคพิษไข้ พิษกาฬ ขับเหงื่อ เป็นยาบำรุงกำลังและยาเจริญอาหาร
สมุนไพรไคร้เครือ ซึ่งเป็นพืชสกุลอริสโตโลเซียนั้น มีกรดเอริสโทโลคิก (aristolochic acid) หากรับประทานเข้าไปจะทำให้มดลูกผิดปกติ และทำให้หญิงตั้งครรภ์แท้งได้ ส่วนการศึกษาในต่างประเทศพบว่า สมุนไพรไคร้เครือ มีสารอริสโตแลคตัม (aristolactams) และสารเอเอ-ดีเอ็นเอ แอดดัคท์ (AA-DNA adducts) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และยังป็นพิษต่อตับ ไต ต่อมหมวกไต อาจทำให้ไตวาย และเป็นมะเร็งทางเดินปัสสาวะได้
คุณค่าทางโภชนาการของไคร้เครือ
การแปรรูปของไคร้เครือ
รากเป็นสินค้า ที่มีไว้จำหน่าย ตามร้านสมุนไพรทั่วไป
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10891&SystemType=BEDO
https://www.srisangworn.go.th
https://www.flickr.com