พุทธรักษาไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ คนไทยโบราณเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะช่วยปกป้องคุ้มครองไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายใดๆ เกิดแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้มงคลที่เชื่อกันว่ามีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีแต่ความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง เช่นเดียวกับพุทธรักษากินหัว ที่มีเหง้าใต้ดินเป็นแหล่งสะสมแป้ง ใช้รับประทานสด เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกทั้งตามบ้านเรือน และสถานที่สาธารณะ เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ปลูกง่าย ดูแลง่าย นอกจากนั้น ยังเป็นไม้ดอกที่มีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลที่ช่วยปกปักรักษาผู้ปลูก ช่วยป้องกันภัยอันตราย และเสนียดจัญไรต่างๆ จึงได้ที่มาของชื่อว่า พุทธรักษา ซึ่งหมายถึง การมีพุทธองค์คอยปกป้องรักษา และทั้ง 2 ชนิดนี้มีสรรพคุณทางแตกต่างกันอย่างไรมาดูกันเลยค่ะ
ต้นพุทธรักษา
พุทธรักษา ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna indica L. เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดินต้นสูง 3-4 ฟุต ใบเดี่ยวเป็นแผ่นกว้างรูปหอกใหญ่ปลายแหลม
มีสรรพคุณทางยา
- ดอก รสเย็น ตำพอกห้ามเลือด รักษาแผลหนอง
- เมล็ด รสเมาเย็น ตำพอกแก้ปวดศีรษะ
- เหง้า รสเย็นฝาดขื่น บำรุงปอด แก้วัณโรค แก้ไอ แก้โรคตับอักเสบ ตัวเหลือง แก้ประจำเดือนไม่ปกติมามากหรือมาไม่หยุด แก้บิดเรื้อรัง แก้แผลอักเสบบวม สมานแผล แก้ตกขาว แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ไอมีเลือด
ต้นพุทธรักษากินหัว
พุทธรักษากินหัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna edulis เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและเหง้าสามารถแตกแขนงเพื่อเจริญเป็นต้นใหม่ โดยเหง้าจะมีลักษณะเป็นทรงกลม และเป็นข้อปล้องขนานกับพื้นดิน ผิวเหง้ามีเปลือกหรือเยื่อเป็นแผ่นสีน้ำตาลหุ้มที่เรียกว่า ใบเกล็ด ใบสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ก้านใบมีสีเขียว และมีนวลสีขาวปกคลุม
สรรพคุณทางยา
- เหง้าสด กินแก้ปวดมวนท้อง
- กลีบดอกนำบด สำหรับประคบแผล ช่วยในการห้ามเลือด ช่วยให้แผลแห้ง ป้องกันน้ำเหลืองไหล และรักษาแผลให้หายเร็ว