สรรพคุณส่วนต่างๆ ของมะขามป้อม

มะขามป้อม มีชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L. อยู่ในวงค์ Euphorbiaceae เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว ผลสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี ส่วนต่างๆ ของมะขามป้อมมีสรรพคุณด้านใดกันบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

สรรพคุณของมะขามป้อม

ต้นมะขามป้อม
ต้นมะขามป้อม เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล
  • ใบ   รสฝาด ขม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาแก้บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน ใช้ทาแก้โรคผิวหนังผื่นคัน มีน้ำเหลือง แก้บิดมูกเลือด แก้ฝี ต้มดื่มลดไข้
  • ดอก   รสหอมเย็น   เข้ายาเย็น ระบายท้อง
  • ผลอ่อน    รสเปรี้ยวหวานฝาดขม บำรุงเนื้อหนัง กัดเสมหะ บำรุงเสียง แก้ท้องผูก แก้พยาธิ
  • ผลแก่  รสเปรี้ยวฝาดขมเผ็ด แก้ไข้เจือลม แก้ไอ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ลดไข้ ขับปัสสาวะ ระบายท้อง บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต แก้ลม แก้โรคลักปิดลักเปิด
  • เนื้อผลแห้ง  รสเปรี้ยวฝาดขม เป็นยาฝาดสมาน แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ริดสีดวงทวาร
  • ยางจากผล รสเปรี้ยวฝาดขม  หยอดแก้ตาอักเสบ รับประทานช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ
  • เปลือกต้น   รสฝาดขม สมานแผล แก้บาดแผลเลือดออก ฟกช้ำ แก้ท้องร่วง แก้บิด
  • ราก   รสจืดฝาด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อม้าม ใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง แก้ปวดกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ ต้มดื่มแก้ไข้ แก้พิษไข้ แก้พิษโลหิต รักษามะเร็งลาม ทำให้เส้นเอ็นยืด ฟอกโลหิต ทำให้อาเจียน แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน แก้พิษตะขาบกัด เปลือกราก ห้ามเลือด สมานแผล
ใบมะขามป้อม
ใบมะขามป้อม ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว

ปรากฏในตำรับพระโอสถพระนารายณ์
5 ยาแก้เตโชธาตุ 17 ยากินขนานหนึ่ง
ตำรายาไทย: มะขามป้อมจัดอยู่ใน “พิกัดตรีผลา” คือการจำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่าง มี ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณแก้ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฎฐาน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
แก้ไอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำลายออก ช่วยละลายเสมหะ มีวิธีใช้ดังนี้
           1.ใช้เนื้อผลสด ครั้งละ 2-5 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อม หรือเคี้ยว วันละ 3-4 ครั้ง
           2.ผลสดฝนกับน้ำแทรกเกลือจิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดจิ้มเกลือรับประทาน
           3.ผลสดตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือผลแห้ง 6-12 กรัม (ผลสด 10-30 ผล) คั้นน้ำดื่มหรือเคี้ยวอมบ่อยๆ

องค์ประกอบทางเคมี:

มีวิตามินซีสูง (ในผลมะขามป้อม 1 ผลมีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่ากับส้ม 2 ลูก) นอกจากนี้ยังพบ rutin, mucic acid, gallic acid, phyllemblic acid สารกลุ่มแทนนิน เบนซินอยด์ เทอร์ปีน ฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ คูมาริน เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ต้านไวรัส (ไข้หวัดใหญ่, ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase) แก้ไอ ต้านการอักเสบ ลดความดันโลหิต ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดคอเลสเตอรอล ปกป้องตับ หัวใจและหลอดเลือด

ผลมะขามป้อม
ผลมะขามป้อม ผลกลม สีเขียวอมเหลือง

มะขามป้อม สามารถทานผลสดได้ จะมีรสเปรี้ยว ฝาดขม สามารถนำมะขามป้อมไปทำแปรรูปได้หลายอย่างเช่น นำไปตากแห้ง ทำแช่อิ่ม เชื่อม หรือกวน หมักน้ำเอนไซม์  ดองเกลือ หมักน้ำผึ้ง เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10327&SystemType=BEDO
http:// www.ananhosp.go.th

2 Comments

Add a Comment