สร้อยสุวรรณา
ชื่ออื่นๆ : เหลืองพิศมร (กรุงเทพฯ) หญ้าสีทอง (เลย) สาหร่ายดอกเหลือง (ภาคกลาง) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระราชทานนามว่า “สร้อยสุวรรณา”
ต้นกำเนิด : พบในอินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบตามพื้นที่โล่งและชุ่มชื้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia bifida L.
ชื่อพ้อง : U. alata Benj., U. brevicaulis Benj., U. humilis Vahl, U. recurva Lour., U. wallichiana Benj., Nelipus bifida
ชื่อวงศ์ : LENTIBULARIACEAE
ลักษณะของสร้อยสุวรรณา
ต้น พืชล้มลุก อายุฤดูเดียว สูง 10-30 เซนติเมตร เป็นพืชกินแมลง ลำต้นเล็กมากอยู่ใต้ดิน ไม่มีใบหรือรากที่แท้จริง รากเป็นรากเทียม แตกแขนงมาก ยาว 2-3 มิลลิเมตร มีไหลยาว 2-3 เซนติเมตร กว้าง 0.1 มม. ปล้องยาว 4-5 มม.
ใบ ใบเดี่ยว รูปแถบ ออกตามข้อของไหล แบบเรียงเวียนรอบโคนต้น กว้าง 1-2 มม. ยาวได้ถึง 2 ซม. ปลายมน โคนสอบแคบ ตามใบจะมีถุงดักแมลง เป็นถุงกลมขนาดเล็กมาก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 มม. ที่ปากถุงมีหนวด 2 เส้น ยาวแข็ง โค้ง
ดอก ดอกช่อกระจะ ก้านตั้งตรง แทงออกจากดิน กลีบดอกสีเหลืองสด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-10 มม. ดอกเรียงอยู่บนก้าน แบบสลับ ยาว 3-20 เซนติเมตร ก้านช่อดอกกลมเกลี้ยง ใบประดับรูปไข่ ยาว 1-3 มม. ปลายมน หรือแหลม ที่โคนมีเส้นตามยาว 1-5 เส้น ใบประดับย่อยรูปลิ่ม ปลายแหลม สั้นกว่าใบประดับมาก แต่ละช่อมีดอก 3-10 ดอก ระยะที่ดอกบาน ก้านดอกจะกางออกตั้งฉากกับแกนช่อดอก เมื่อเป็นผลก้านยาว 2-5 มม. งอ และมีปีก 2 ข้าง กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ สีน้ำตาลอ่อน รูปไข่กว้าง ยาว 2.5-7 มม. กลีบบนใหญ่กว่ากลีบล่าง ปลายกลีบมน กลีบล่างปลายหยักเว้าตื้นๆ หรือกลม กลีบดอกรูปปากเปิด ยาว 0.6-1 เซนติเมตร โคนดอกเชื่อมติดกันและยื่นยาวเป็นจงอยแหลมตรงที่ด้านล่าง ส่วนปลายแยกเป็น 2 ปาก ดูคล้ายถ้วยเล็กๆ กลีบด้านบนยาวเป็นสองเท่าของกลีบอื่น ปากบนตรงที่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลางเล็กน้อยจะมีรอยคอด ส่วนบนของรอยคอดรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่กว้าง ปากล่างตรงปากแตรรูปคล้ายหมวกค่อนข้างกลม ที่โคนมีรอยนูน ส่วนล่างที่ยื่นยาวลงไปเป็นจงอยคล้ายรูปลิ่ม โค้งเล็กน้อย เกสรเพศผู้มี 2 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1 มม. ตรงอับเรณูมี 2 ช่อง แยกกัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่ ค่อนข้างแบน มี 1 ห้อง
ผล ผลแบบผลแห้งแตก รูปหัวใจ ขนาดเล็ก แบน ยาว 2.5-3 มม. เปลือกผลบาง เมื่อแก่แตกตามแนวบนและล่าง
เมล็ด รูปไข่กลับ เบี้ยว ยาว 0.4-0.5 มม. ปลายตัด ชอบขึ้นตามดิน หรือลานหินที่ชื้น ที่มีน้ำขัง และตามท้องนาทั่วไป ออกดอกและติดผลราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
การขยายพันธุ์ของสร้อยสุวรรณา
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่สร้อยสุวรรณาต้องการ
ประโยชน์ของสร้อยสุวรรณา
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ในต่างประเทศปลูกกำจัดแมลงศัตรูพืชของกล้วยไม้
- พืชหายาก
สรรพคุณของสร้อยสุวรรณา
- ตำรายาไทย ทั้งต้น แก้ไข้ แก้บวม แก้ผดผื่นคัน แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
- ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ทั้งต้น ต้มแล้วคั้นดื่มเพื่อบำรุงเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของสร้อยสุวรรณา
การแปรรูปสร้อยสุวรรณา
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ภาพประกอบ : www.flickr.com
สร้อยสุวรรณา เป็นพืชหายาก