พืชวงศ์สร้อยสุวรรณา LENTIBULARIACEAE พืชกินแมลง

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์พืชสร้อยสุวรรณา LENTIBULARIACEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 หรือรายปี เป็นพืชกินแมลง ไม่มีหูใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับหรือเป็นกระจุกติดพื้นดิน ดัดแปลงไปเป็นกับดักแมลง ดอกมีก้านช่อดอกโดดเป็นช่อกระจะ หรือดอกเดี่ยว สมมาตรด้านข้าง สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ถึง 5 พู กลีบดอกมี 5 กลีบ สีฟ้า ขาว ม่วง หรือเหลือง รูปปากเปิด ปากล่างมักมีเดือยหรือเป็นถุง เกสรเพศผู้มี 2 อัน ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูมี 1 เซลล์ ติดกับก้านเกษรเพศผู้ที่โคนอับ แตกโดยมีรอยแยก เกสรเพศเมียมี 1 อัน มี 2 คาร์เพล รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 1 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก พลาเซนตาแบบรอบแกน ก้านเกสรเพศเมียสั้นมากหรือไม่มี ยอดเกสรเพศเมียมี 2 พูไม่เท่ากัน เป็นตุ่ม ผลแก่แตกแบบฝาเปิดหรือแตกกลางพู เมล็ดเล็ก

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์ของพืชเป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชกินแมลง ขึ้นในที่ชื้น ใบดัดแปลงไปเป็นกับดักแมลง ดอกมีก้านช่อดอกโดด กลีบดอกเป็นรูปปากเปิด โคนเป็นเดือยหรือเป็นถุง เกสรเพศผู้มี 2 อัน เกสรเพศเมียมี 2 คาร์เพล รังไข่ติเหนือวงกลีบ แผลแก่แตก เมล็ดเล็ก

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Gesneriaceae ไม่เป็นพืชกินแมลง อับเรณูเชื่อมติดกันหรือติดเป็นคู่ รังไข่มีทั้งติดเหนือวงกลีบและติดใต้วงกลีบ พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ

การกระจายพันธุ์

พืชวงศ์สร้อยสุวรรณา พบทั่วไปในเขตร้อน ในป่าดิบชื้นและที่ชื้นแฉะ ในประเทศไทยมี 1 สกุล คือ

  • สกุล  Utricularia มี 22  ชนิด ได้แก่ สร้อยสุวรรณา Utricularia bifida L. ดุสิตา Utricularia delphinioides Thorel ex Pellegr.  สาหร่ายข้าวเหนียว Utricularia aurea Lour.
ดุสิตา
ดุสิตา สีม่วงเข้ม ออกเป็นช่อ แทงขึ้นจากโคนกอ

 

สร้อยสุวรรณา
สร้อยสุวรรณา ดอกสีเหลือง เป็นช่อกระจะ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment