สวาด
ชื่ออื่นๆ : หวาด บ่าขี้แฮด (เชียงใหม่), หวาด ตามั้ด มะกาเลิง (ภาคใต้), สวาด (ภาคกลาง), มะกาเล็ง (เงี้ยว-เชียงใหม่), ดามั้ด (มลายู-สตูล)
ต้นกำเนิด : พบได้ตามป่าละเมาะชายทะเลทั่วไปทั้งภาคตะวันออก และภาคใต้
ชื่อสามัญ : Nuckernut, Grey nickers
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia bonduc
ชื่อวงศ์ : FABACEAE – LEGUMINOSAE
ลักษณะของสวาด
เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านของเถาสวาดมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป เลื้อยพันต้นไม้อื่นโดยใช้หนามช่วยประคอง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ขนาดใหญ่ ยาว 30-50 ซม. มีดอกสีเหลือง เป็นช่อยาว 15-25 ซม. ออกดอกตรงกิ่งเหนือซอกใบขึ้นไปเล็กน้อย มีช่อเดี่ยวหรืออาจแตกแขนงบ้าง ก้านช่อยาวและมีหนาม ผลเป็นฝักรูปรี หรือขอบขนานแกมรูปรี มีขนยาวแหลมแข็งคล้ายหนามตามเปลือก แต่ละฝักมี 2 เมล็ด เมล็ดกลมเปลือกแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. สีเทาแกมเขียว ซึ่งเป็นสีที่เรียกกันว่าสีสวาด
การขยายพันธุ์ของสวาด
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่สวาดต้องการ
ประโยชน์ของสวาด
สรรพคุณทางยาของสวาด
ใบ เป็นยาขับลม แก้จุกเสียด
ผล ใช้แก้กระษัย ยอดบดกรองเอาแต่น้ำ แก้ไข้ ถ่ายพยาธิ
ราก ดองกับเหล้าขาวใช้แก้พยาธิ
เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ปวดท้อง
คุณค่าทางโภชนาการของสวาด
การแปรรูปของสวาด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11077&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com