สะตอ รสชาติคล้ายกระถิน เมล็ดมีกลิ่นเฉพาะตัว อาหารไทยขึ้นชื่อของภาคใต้
ชื่ออื่นๆ : ตอข้าว กะตอ ตอดาน ปะตา
ต้นกำเนิด : ภาคใต้ของประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Stink bean
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia speciosa Hassk.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bitter bean, Twisted cluster bean, Stink bean
ลักษณะของสะตอ
สะตอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้สีเปลือกไข่แก่นสีแดง สูงประมาณ 30 เมตร
ใบสะตอ เป็นพวกใบประกอบ ก้านทางใบยาว 18-63 เซนติเมตร ก้านทางใบย่อยยาว 6-14 เซนติเมตร ก้านทางใบย่อยจะแยกออกเป็นคู่ ๆ จากก้านทางใบ มีจำนวน 14-27 คู่ เส้นผ่าศูนย์ กลาง 1-2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5-14 เซนติเมตร มีใบย่อยแตกออกด้านข้างของแกนจำนวน 31-41 คู่ต่อหนึ่งทางใบย่อย มีใบจำนวน 62-82 ใบ ใบมีลักษณะคล้ายใบพายกว้าง 1.5-2.2 มิลลิเมตร ยาว 5-9 มิลลิเมตร ก้านทางใบย่อยแต่ละก้านอยู่ห่างกันประมาณ 2.5 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ของสะตอ
ใช้เมล็ด/การปลูกและการดูแลรักษา
1. เพาะเมล็ด
การขยายพันธุ์วิธีนี้ดยเลือกฝักจากต้นพันธุ์ที่แก่เต็มที่แล้วแต่ไม่ต้องถึงกับสุกงอมแกะเมล็ด ออกแล้วลอกเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้เหลือเนื้อเมล็ดที่มีสีเขียว แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน นำขึ้นจากน้ำแล้วนำไปเพาะ ก่อนเพาะควรคลุกสารป้องกันมดกัดกิน เช่นเซฟวิน 85 อัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อ 100 เมล็ด ควรทำการเพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
การเพาะ ใช้ถุงพลาสติก ขนาด 4 x 8 นิ้ว เจาะก้นถุง 2-3 รูเพื่อระบายน้ำ ใส่ดินผสมปุ๋ยคอกอัตรา 2 ต่อ 1 ลงไปประมาณค่อนถุงนำไปตั้งในเรือนเพาะชำ แล้วนำเมล็ดที่เตรียมไว้มาปลูกตรงกลางถุงโดยให้ทางด้านหัวกดลงลึกประมาณ 1 เซนติเมตร เวลางอกลำต้นจะตั้งตรงรดน้ำให้ชุ่มชื้นทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ภายใน 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกใส่ปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยน้ำบ้าง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตจนอายุ 1 ปี จะมีใบออกประมาณ 3-4 ใบ สามารถนำไปปลูกได้ ข้อดีวิธีนี้คือ ปลูกได้รวดเร็วเป็นจำนวนมากข้อเสียมักกลายพันธุ์ อายุการตกผล 4-7 ปี แล้วแต่ชนิดของพันธุ์
2. การติดตาแบบเพลท
การติดตาเป็นการทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนต้นเดิมและให้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด ประมาณ 2-3 ปี ระยะเวลาที่เหมาะสมอยู่ในช่วงฤดูฝน ราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพราะเปลือกของต้นตอและตาของกิ่งพันธุ์ดี จะสามารถลอกเปลือกออกได้ง่าย
สะตอปลูกง่าย เหมือนไม้ยืนต้นชนิดอื่น ๆ แต่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นพืชแซมหรือไม้บังร่ม เพราะโตเร็วให้ร่มเงาดี
ระยะปลูก ควรใช้ระยะ 12 x 12 เมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกได้ 11 ต้น ในขณะต้นสะตอเล็กสามารถปลูกพืชแซมได้
หลุมปลูก ใช้ขนาด 1 x 1 x 1 เมตร ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตรองก้นหลุม ๆ ละ 1 กระป๋องนม พร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 บุ้งกี๋คลุกเคล้ากันแล้สกลบหลุม ให้เต็ม
ฤดูปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือในราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
การปลูก หลังจากเตรียมหลุมปลูกแล้วให้ใช้จอบขุดดินในหลุมให้มีขนาดพอดีเท่ากับถุงที่ใช้เพาะต้นกล้า กรีดด้านข้างถุงเพาะแล้ววางลงไปในหลุมปลูกใช้ไม้ปักแนบลำต้นผูกเชือกยึดกันลมโยก รดน้ำให้ชุ่มชื้น ทำร่มเงาให้โดยอาจใช้ทางมะพร้าวมามุงหลังคาบังแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี (ทั้งต้นปลูกจากต้นเพาะเมล็ดและไว้สำหรับทำต้นตอ)
ธาตุอาหารหลักที่สะตอต้องการ
–
ประโยชน์ของสะตอ
1.เป็นรายได้ของเกษตรกร
2.ช่วยยึดดินมิให้พังทลาย และทำให้ดินชุ่มชื้นเสมอ
3.ใบเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
4.ลำต้นใช้ทำเครื่องตกแต่งบ้าน
5.เชื่อว่ารับประทานแล้วป้องกันโรคเบาหวานได้ และมีผู้สังเกตพบว่ามีฤทธิ์เป็นยาระบาย
6.ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัด ต้ม แกง หรือรับ
สรรพคุณทางยาของสะตอ
- ผลต่อความดันโลหิต
- ผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์
- ผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- ผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
- ผลของการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดง
- ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
- ฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
- เมล็ด ขับปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ และไตพิการ
คุณค่าทางโภชนาการของสะตอ
- คุณค่าทางอาหาร คุณค่าสารอาหารของเมล็ดสะตอในส่วนที่กินได้ 100 กรัม
- พลังงาน 130.0 กิโลแคลอรี่
- น้ำ 70.7 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 15.3 กรัม
- โปรตีน 8.0 กรัม
- กาก (Crude Fiber ) 0.5 กรัม
- ใยอาหาร(Dietday Fiber) – –
- เถ้า 1.03 กรัม
- แคลเซียม 76.0 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 83.0 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.7 หน่วยสากล (L.U )
- วิตามินเอ 9.0 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 0.11 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.01 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม
การแปรรูปของสะตอ
สะตอ สามารถแปรรูปในการทำอาหารได้หลากหลาย อย่างเช่น เมนู ผัดเผ็ดสะตอ สามารถใส่เนื้อสัตว์ได้หลากหลายชนิด หมู ไก่ กุ้ง หมึก แล้วแต่ความชอบ นอกจากนี้ยังสามารถแปรรูปเป็นของดอง อย่าง สะตอ ดอง เพื่อเป็นการถนอมอาหารให้สามารถเก็บได้นานยิ่งขึ้นด้วยค่ะ
References : www.bedo.or.th
ภาพประกอบ : th.wikipedia.org, www.flickr.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
2 Comments