สะเรเต ดอกสีขาวล้วน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

สะเรเต กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)

ชื่ออื่นๆ : สะเลเต หางหงส์ กระทายเหิน ตาห่าน เหินแก้ว และเหินดำ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Butterfly lily, Garland flower, Ginger lily, White ginger มหาหงส์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hedychium coronarium J.G.Koenig

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของสะเรเต กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)

เป็นพันธุ์ไม้พวกเดียวกัน ขิง ข่า และขมิ้น ไม้หัวล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูกาบใบพ้นดินเป็นเหมือนลำต้น เรียกว่าลำต้นเทียม สูง 1-2 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับตรงข้ามกันเป็นระเบียบในแนวเดียวกัน เส้นใบขนานกัน ใบมีขนาด 4-9 x 25-60 ซม. สีเขียวสด ดอก ออกที่ปลายยอด เป็นช่อๆ ละ 3-6 ดอก แต่ละดอกมี 3 กลีบ ด้านบน 1 กลีบ เป็นกลีบใหญ่ ปลายกลีบเว้าลงเป็นรูปตัววี ด้านล่างเป็นกลีบเล็ก 2 กลีบ เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 10 ซม. มีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน อีก 3 อันไม่สมบูรณ์ กลีบดอกสีขาว หรือขาวแกมเหลือง ดอกจะทยอยบานจากด้านล่างขึ้นด้านบน ผล รูปทรงกระบอก สีส้มแดง เมล็ด สีน้ำตาลแดง
ส่วนที่ใช้ : หัว เหง้าสด น้ำมันหอมระเหย

สะเรเต
สะเรเต ปลายใบแหลม ดอกสีขาวออกที่ยอดเป็นช่อสั้น

การขยายพันธุ์ของสะเรเต กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/-

ธาตุอาหารหลักที่สะเรเต กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)ต้องการ

ประโยชน์ของสะเรเต กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เชื่อว่าเป็นไม้มงคลทางเมตตามหานิยม ชาวไทใหญ่นิยมใช้ดอกมหาหงส์บูชาพระ ตำราว่านกล่าวว่า หากปลูกไว้กับบ้านเรือนจะเป็นสิริมงคลอย่างสูง

สรรพคุณทางยาของสะเรเต กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้ : หัว เหง้าสด น้ำมันหอมระเหย

สรรพคุณ : เป็นยาแก้กระษัย บำรุงกำลัง บำรุงไต
ใช้หัว ตากแห้ง บดละเอียด ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนรับประทาน

มีฤทธิ์ฆ่าแมลงได้
เหง้าสดจำนวนพอควร นำมาทุบๆ แล้วสกัดให้ได้น้ำมันหอมระเหยออกมา เรียกน้ำมันมหาหงส์ ใช้ฆ่าแมลงได้

คุณค่าทางโภชนาการของสะเรเต กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)

การแปรรูปของสะเรเต กระทายเหิน, มหาหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (แม่ฮ่องสอน)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11652&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment