สันตะวาใบพาย
ชื่ออื่นๆ : สันตะวา, ผักโหมเหบ (ภาคอีสาน) ลอเบาะอาย (มลายูท้องถิ่น-ยะลา)
ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชีย และแพร่กระจายไปทั่วเขตร้อน ชอบน้ำนิ่งหรือน้ำไหลช้า ที่ระดับลึกไม่มาก
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ottelia alismoides (L.) Pers
ชื่อวงศ์ : Hydrocharitaceae
ลักษณะของสันตะวาใบพาย
เป็นพืชน้ำอายุปีเดียว มีรากยึดติดกับพื้นใต้น้ำ ลำต้น สูง 10-15 เซนติเมตร
ใบ ใบเดี่ยว เรียงแบบเวียนสลับ แผ่นใบกรอบทั้งสองด้าน รูปหัวใจ ผิวใบเรียบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเป็นคลื่น ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ใบกว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร เส้นใบแตกโค้งไปหาขอบใบ เส้นกลางใบเห็นชัด ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีน้ำตาลอมเขียว ก้านใบยาว 10-20 เซนติเมตร ขอบก้านใบมีหนามเล็กๆ เปราะหักง่าย
ดอก ดอกช่อ ขนาดกลาง สีขาวหรือสีขาวอมม่วง กลีบดอก 3 กลีบ โคนกลีบรวมตัวกันเป็นท่อ ก้านช่อยาวชูช่อดอกเหนือน้ำ
ผล เป็นฝักยาวหนา มีปีกหลายอัน ขอบเป็นคลื่น มีเมล็ดขนาดเล็กสีม่วงดำมีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ของสันตะวาใบพาย
การเพาะจากเมล็ดและการแยกหน่อ
ธาตุอาหารหลักที่สันตะวาใบพายต้องการ
ประโยชน์ของสันตะวาใบพาย
- สันตะวาใบพายนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในตู้ปลา
- ใบอ่อน ก้านใบและดอก รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก แจ่ว ลาบ ก้อย ยำ แกงส้ม ใบมีรสจืด กรอบ
สรรพคุณทางยาของสันตะวาใบพาย
ในประเทศจีนใช้เป็นยารักษาฝี ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้ลดไข้และรักษาโรคริดสีดวงทวาร
คุณค่าทางโภชนาการของสันตะวาใบพาย
การแปรรูปของสันตะวาใบพาย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9939&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
ไม้น้ำดอกสวยเหมือนกันนะ