สันพร้าหอม นำมารับประทานเป็นผักได้ ทั้งต้นเป็นยาแก้ปวดหัว แก้ไข้ตัวร้อนจัด

สันพร้าหอม

ชื่ออื่นๆ : เกี๋ยงพาใย (ภาคเหนือ)  ซะเป, มอกพา, หญ้าลั่งพั้ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  พอกี่, พ่อสู่เจาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  สะพัง (เลย)  สันพร้าหอม (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eupatorium fortunei Turcz.

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะของสันพร้าหอม

ต้น  เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง และตามลำต้นจะเป็นร่อง แต่ก็ค่อนข้างจะเกลี้ยง กิ่งก้านเป็นเปลาะ ๆ ลักษณะคล้ายต้นกระดูกไก่ดำ

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ใบด้านบน ค่อนข้างออกสลับกัน ลักษณะใบรูปขอบขนานกว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบเป็นครีบไปยังก้านใบ ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน เกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบมี 6-7 คู่ ก้านใบยาว 2-5 มม. เนื้อใบเกลี้ยง มีกลิ่นหอมรับประทานได้

ดอก ดอกเป็นกระจุก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดของต้น แต่ละช่อประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ก้านช่อดอกค่อนข้างมีขนหนาแน่น ริ้วประดับมี 2-3 วง วงในปลายค่อนข้างแหลม ดอกมี 5 ดอก สีขาวหรือสีแดง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกจะออกได้เรื่อยๆ

ผล ผลแห้ง ลักษณะรูปขอบขนานแคบ มี 5 สัน มีรยางค์เป็นขน เมื่อสุกจะเป็นสีดำ ภายในมีเมล็ด

สันพร้าหอม
สันพร้าหอม ใบรูปขอบขนานกว้าง ปลายใบเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของสันพร้าหอม

การเพาะเมล็ด หรือการปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่สันพร้าหอมต้องการ

ประโยชน์ของสันพร้าหอม

นำมารับประทานเป็นผัก คู่ กับน้ำพริก และลาบได้ โดยใช้ในส่วนของใบมาทำเป็นเครื่องเคียง

สรรพคุณทางยาของสันพร้าหอม

  • ทั้งต้น รสหอมสุขุม แก้ปวดหัว แก้ไข้ตัวร้อนจัด ขับเหงื่อ ท้องขึ้นอืด เฟ้อ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เป็นยาบำรุง กระตุ้นความกำหนัด
  • ราก รสเย็นจืด แก้พิษ ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • ใบ รสเย็นจืด แก้ไข้พิษ บำรุงหัวใจ แก้ไข้หวัด ถอนพิษไข้

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • ขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ท้องอืดเฟ้อ โดยใช้ทั้งต้นสดหรือแห้ง 15-20 กรัม ต้มในน้ำ 500 ซีซี ประมาณ 10 นาที แล้วกรองเอาน้ำดื่ม วันละ 2-3 ครั้ง หรืออาจจะใช้ทั้งต้นสดรับประทานเป็นผักเครื่องเคียงอาหารก็ได้
  • แก้พิษ ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ โดยใช้รากสดหรือแห้ง ต้มในน้ำ 250 ซีซี กรองเอาน้ำดื่มหรือจิบเป็นประจำ

คุณค่าทางโภชนาการของสันพร้าหอม

การแปรรูปของสันพร้าหอม

ปัจจุบันยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น แป้ง , สบู่ , แชมพู เนื่องจากส่วนต่างๆ ของส่วนพร้าหอมมีน้ำมันหอมระเหยและเมื่อแห้งยังมีกลิ่นที่หอมจึงมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11794&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment