สับปะรดสี
ชื่ออื่นๆ : สับปะรดสี
ต้นกำเนิด : ประเทศบราซิล
ชื่อสามัญ : Bromeliad
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aechmea fasciata
ชื่อวงศ์ : BROMELIACEAE
ลักษณะของสับปะรดสี
สับปะรดสีเป็นพันธุ์ไม้ประดับที่มีใบเป็นกลีบแข็งๆ แผ่ออกไปรอบ สับปะรดสีเป็นไม้ที่เจริญเติบโตช้า ดูแลง่าย สามารถทนแล้งได้ดี มีช่อดอกยาวสูง สีกลีบดอก กลีบเลี้ยง และใบที่ฉูดฉาดคงอยู่นานหลายสัปดาห์หรืออยู่ได้หลายเดือน และจะงอกต้นเล็กออกมารอบๆ ต้นสามารถตัดแยกไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปร่างของใบจะแตกต่างกันออกไปตาม สายพันธุ์ ใบออกเวียนเรียงซ้อนกันแน่นเป็นแอ่งรอบ ลำต้น ทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกได้ แผ่นใบจะค่อน ข้างหนา โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบอาจมีหนามหรือไม่มีหนามก็ได้
ดอก สับปะรดสี จะเป็นช่อดอกออกที่ส่วนยอดของลำต้น โดยช่อดอกอาจแตกแขนงออกไปมากหรือน้อย ดอกย่อยมีกลีบดอก 3 กลีบ มีเกสรเพศผู้เรียงตัว 2 วง
การขยายพันธุ์ของสับปะรดสี
โดยการเพาะเมล็ด และการแบ่งหน่อขยายกอ
ธาตุอาหารหลักที่สับปะรดสีต้องการ
ประโยชน์ของสับปะรดสี
ปลูกเป็นไม้ประดับ คุณสมบัติในการดูดสารพิษของสับปะรดสีจะไม่มากนัก แต่คุณสมบัติเด่นของสับปะรดสีอยู่ที่เป็นพืชที่คายออกซิเจนออกมาตอนกลางคืนและดูดคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป จึงเหมาะที่จะปลูกไว้ในห้องนอน
สรรพคุณทางยาของสับปะรดสี
–
คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรดสี
การแปรรูปของสับปะรดสี
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9950&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com