สาคู พืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในตระกูลปาล์ม

สาคู

ชื่ออื่นๆ : สาคู

ต้นกำเนิด : นิวกินีและหมู่เกาะโมลุกกะประเทศอินโดนีเซีย และบริเวณใกล้เคียงกระจายพันธุ์ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี และตอนใต้ของไทย

ชื่อสามัญ : Sago-palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metroxylon sagu Rottb.

ชื่อวงศ์ : Palmae

ลักษณะของสาคู

ต้นสาคูเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในตระกูลปาล์ม ที่พบขึ้นในบ้านเรา มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดไม่มีหนาม (Metroxylon sugu Roltb.) และชนิดมีหนาม (Metroxylon rumphii Mart.) ต้นสาคูขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ เมื่อต้นเก่าตายจะมีหน่องอกออกมาแทนอยู่เรื่อยๆ โดยไม่จำเป็นต้องปลูกทด แทน ใบของต้นสาคูที่ร่วงหล่นลงมาบนพื้นดิน จะคลุมพื้นดินอย่างหนาแน่นจนวัชพืชขึ้นไม่ได้ ถือเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วยวิธีหนึ่ง ใบของต้นสาคู สามารถนำไปมุงหลังคาแทนใบจาก ลำต้นสามารถนำมาสร้างบ้าน ทำเชื้อเพลิง และนำมาผลิตเป็น แป้งได้ โดยเฉพาะส่วนกลาง (ไส้) ของลำต้นจะให้แป้งมากที่สุด แป้งที่ผลิตจากต้นสาคูจะมีสีเหลือง และจะมีสิ่งสกปรกอยู่มาก ระยะของต้นสาคูที่เหมาะสมจะตัดมาทำแป้ง จะมีอายุประมาณ 9-10 ปี โดยเฉพาะที่ช่วงความสูง 7.5-9 เมตร จากพื้นดินจะ มีแป้งมากที่สุด ระยะนี้ต้นสาคูจะตั้งท้อง และเริ่มสร้างดอก พอหลังจากระยะนี้แล้ว ลำต้นของสาคูจะมีลักษณะกลวง และตาย ในที่สุด ต้นสาคูต้นหนึ่งจะสามารถผลิตแป้งได้ประมาณ 100-500 กก. การนำไปทำแป้ง ต้องทำหลังจากโค่นต้นสาคูภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าทิ้งไว้นานต้นสาคูจะเน่า

ต้นสาคู
ต้นสาคู พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ใบประกอบแบบขนนกคล้ายใบมะพร้าว

การขยายพันธุ์ของสาคู

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/-

ธาตุอาหารหลักที่สาคูต้องการ

ประโยชน์ของสาคู

ต้นสาคู เมื่อนำมาปอกเปลือก และบด สามารถใช้เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรท หรืออาหารฐานในสูตรอาหารเลี้ยงสัตว์กระเพาะเดี่ยว และสัตว์เคี้ยวเอื้องได้ ทั้งในลักษณะเปียกและแห้ง เช่นเดียวกับมันเส้น ข้าวโพด ปลายข้าว ฯลฯ ซึ่งการใช้ในลักษณะสาคูแห้ง จะสะดวก และสามารถเก็บได้นาน แต่มีปัญหาที่สาคูมีโปรตีน และไขมันต่ำ การใช้เป็นอาหารสัตว์ ควรใช้ร่วมกับแหล่งโปรตีนที่มีราคาถูก และหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ใบกระถิน กากเมล็ดยางพารา กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม และยูเรีย สำหรับในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่ง ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประเภทอาหารฐานที่ให้พลังงานแก่ร่างกายสัตว์ โดยเฉพาะทางภาคใต้ ซึ่งไม่ใช่แหล่งผลิตอาหารประเภทนี้

สรรพคุณทางยาของสาคู

คุณค่าทางโภชนาการของสาคู

การแปรรูปของสาคู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11041&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment