สาธร กระเจาะ เนื้อไม้และแก่นใช้ในการก่อสร้าง

สาธร กระเจาะ

ชื่ออื่นๆ : กระเจาะ, ขะเจาะ (ภาคเหนือ) กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์) กะเชาะ (ภาคกลาง) ขะแมบ, คำแมบ (เชียงใหม่) สาธร (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Papilionaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia leucantha Kurz

ชื่อวงศ์ : Leguminosa-Papilionoideae

ลักษณะของสาธร กระเจาะ

ต้น เป็นไม้ที่พบขึ้นในป่าเบญจพรรณใกล้แหล่งน้ำทั่ว ๆ ไปในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เป็นไม้ต้นขนาดกลางผลัดใบ สูง 18-20 เมตร เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก เปลือกต้นสีเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตื้น ๆ เนื้อไม้สีขาวอมน้ำตาล แก่นสีน้ำตาลอมดำ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ

ใบ ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนยาวอ่อนนิ่มคล้ายเส้นไหมปกคลุมอยู่ ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3-5 คู่ ปลายสุด เป็นใบเดี่ยวแผ่นใบย่อย รูปรี กว้าง 3-5.5 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ด้านล่างใบสีอ่อนกว่าด้านบน ใบแก่เกลี้ยง

ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจายแยกแขนงสีขาว ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ออกพร้อมใบอ่อน รูปดอกถั่ว กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบติดกันเป็นหลอดสั้น ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

ผล ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานคล้ายฝักมีด มีเปลือกแข็ง กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก ฝักหนึ่ง ๆ มี 1-3 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างแบนคล้ายโล่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.3 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ต้นสาธร
ต้นสาธร เปลือกต้นสีเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ตื้น
ใบสาธร
ใบสาธร ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนยาวอ่อนนิ่มคล้ายเส้นไหมปกคลุมอยู่
ผลสาธร
ผลสาธร ผลเป็นฝักแบน คล้ายฝักมีด

การขยายพันธุ์ของสาธร กระเจาะ

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สาธร กระเจาะต้องการ

สภาพดินร่วน แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นมาก

ประโยชน์ของสาธร กระเจาะ

  • เนื้อไม้และแก่นมีลักษณะสวยงามใช้ในการก่อสร้าง
  • ใช้ทำเครื่องเรือน และด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เสาเรือน ขื่อ รอด เพลา เกวียน เครื่องนอน ครก สาก
  • สาธร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครราชสีมา โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

สรรพคุณทางยาของสาธร กระเจาะ

คุณค่าทางโภชนาการของสาธร กระเจาะ

การแปรรูปของสาธร กระเจาะ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11904&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment