สารภีทะเล ไม้ประดับให้ร่มเงา ประโยชน์และสรรพคุณ

สารภีทะเล

ชื่ออื่นๆ : กระทึง, กากระทึง, กากะทึง (ภาคกลาง) ทิง (กระบี่) เนาวกาน (น่าน) สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์) สารภีแนน (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : แถบอินโดจีน

ชื่อสามัญ : กระทิง, Alexandrian laurel

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calophyllum inophyllum L.

ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE

ลักษณะของสารภีทะเล

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–25 เมตร

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง

ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม

ผล ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง

ดอกสารภีทะเล
ดอกสารภีทะเล กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม

การขยายพันธุ์ของสารภีทะเล

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง

การปลูก
ใช้ต้นกล้าหรือกิ่งตอนปลูกในหลุมขนาด 30 x 30 x 30 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมดินร่วน

ธาตุอาหารหลักที่สารภีทะเลต้องการ

ต้นสารภีทะเลชอบสภาพดินร่วนปนทรายหรือดินทรายความชุ่มชื้นปานกลาง

ประโยชน์ของสารภีทะเล

  1. ทั้งต้นและใบสามารถนำมาใช้ทำเป็นยาเบื่อปลาได้
  2. น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรุงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และใช้ทำสบู่ได้
  3. น้ำมันจากเมล็ดนำมาใช้ผสมทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้
  4. ยางจากต้นและเปลือกต้นใช้แต่งกลิ่น (ไม่ได้ระบุว่าแต่งกลิ่นอะไร)
  5. นิยมปลูกต้นกระทิงเพื่อเป็นไม้ให้ร่มเงา ชอบอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ปลูกได้ตั้งแต่ชายทะเลถึงบนเขาสูง หรือจะปลูกไว้ในกระถางก็ได้ เนื่องจากเป็นไม้ที่เจริญเติบโตช้า (ไม่ควรปลูกไว้ใกล้บริเวณอาคาร เพราะต้นกระทิงระบบรากมีความแข็งแรง อาจทำให้เกิดความเสียหายกับตัวอาคารได้) ใบไม่หลุดร่วงง่ายและมันเป็นเงาสวยงาม ทนดินเค็ม แสงแดดจัด และลมแรงได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีโรคและแมลงมารบกวน สามารถควบคุมการออกได้ด้วยการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง
  6. เนื้อไม้กระทิงสามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน ทำตู้ ไม้หมอนรถไฟ เครื่องมือเกษตรกรรม เช่น แอก ฯลฯ หรือใช้ทำเรือ และกระดูกงูเรือได้
  7. ต้นไม้ประจำจังหวัดระยอง พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ผลสารภีทะเล
ผลสารภีทะเล ผลกลม สีเขียว

สรรพคุณทางยาของสารภีทะเล

  • ทั้งต้นมีรสเมาและฝาดเล็กน้อย ใช้เป็นยาสุขุม มีพิษเล็กน้อย (ทั้งต้น)
  • ดอกมีรสหอมเย็น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้อาการการเต้นของหัวใจผิดปกติ และใช้ปรุงเป็นยาหอม (ดอก, ดอกและใบ)
  • ดอกใช้เป็นยาชูกำลัง (ดอก)
  • ใบมีรสเมาเย็น ช่วยแก้อาการตาแดง ตาฝ้า ตามัว และใช้ล้างตา โดยใช้ใบตำกับน้ำสะอาดล้างตา (ใบ)
  • ยางมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน (ยาง)
  • ยางจากต้นและเปลือกต้นใช้เป็นยาพอกทรวงอกแก้วัณโรคปอด (ยาง)
  • ยางมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ยาระบายอย่างรุนแรง (ยาง)
  • ช่วยขับปัสสาวะ (ยาง)
  • น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาฝาดสมานภายนอก ใช้กับโรคริดสีดวงทวาร (ใบ)
  • น้ำมันจากเมล็ดที่ทำให้บริสุทธิ์ใช้กินแก้โรคหนองใน (น้ำมันจากเมล็ดบริสุทธิ์)
  • เปลือกต้นใช้ต้มเป็นยาขับปัสสาวะในโรคหนองใน (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติและช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี (ดอกและใบ)
  • เปลือกต้นใช้ทำเป็นพลาสเตอร์ปิดแผล (เปลือกต้น)
  • ช่วยรักษาแผลสด ห้ามเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  • เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้คัน (เปลือกต้น)
  • ยางจากต้นและเปลือกใช้ภายนอกสำหรับล้างแผลอักเสบเรื้อรัง (ยาง)
  • เปลือกต้นใช้ชำระล้างแผล (เปลือกต้น) รากใช้เป็นยาล้างแผล (ราก)
  • ต้นและเปลือกต้นให้ยางใช้สำหรับทาแผล เป็นยาสมานแผลและกัดฝ้า (เปลือกต้น, ยาง)
  • ช่วยแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้เหา และช่วยสมานแผล (น้ำมันจากเมล็ด)
  • ช่วยรักษาโรคเรื้อน (เปลือกต้น, น้ำมันจากเมล็ด)
  • น้ำมันจากเมล็ดใช้แก้หิดและกลากเกลื้อน (น้ำมันจากเมล็ด)
  • รากช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก) เปลือกต้นช่วยแก้อาการฟกช้ำดำเขียว (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นใช้เป็นยาทาภายนอกแก้อาการบวม (เปลือกต้น)
  • รากใช้เป็นยาแก้อาการปวดบวมเคล็ดขัดยอก (ราก) ส่วนเมล็ด (น้ำมัน) มีรสเมาร้อนและมีน้ำมัน ใช้สำหรับถูนวดแก้อาการปวดข้อ แก้อาการเคล็ดขัดยอก แก้บวมได้ (น้ำมันจากเมล็ด)
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ปวดตามแข้งตามขาเนื่องจากลมชื้น (ราก)
  • ช่วยแก้อาการปวดหลังอันเนื่องมาจากไตพร่อง (ราก)
  • ชวยแก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ราก)วิธีการใช้ : ใบ เปลือกต้น ราก ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ส่วนรากสดให้ใช้ครั้งละ 20-30 กรัม ถ้าใช้ภายในให้นำมาต้มกับน้ำดื่ม หากใช้ภายนอกเพื่อรักษาแผลสดห้ามเลือด แก้เคล็ดขัดยอก อาการปวดบวม ให้ใช้ตามที่ต้องการ

    ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรกระทิง

  • ยาจากสมุนไพรกระทิงมีพิษ เวลาใช้ต้องระมัดระวัง
  • ยางจากต้นกระทิงมีพิษ มีฤทธิ์ทำให้อาเจียนและออกฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง
  • ใบกระทิงมีสาร Saponin และสารเมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสาร Hydrocyanic acid ออกมา จึงทำให้เป็นพิษต่อมนุษย์และปลา
  • หากนำผลของกระทิงไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 60% จะทำให้สารที่ได้มาไม่เป็นพิษ

    ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระทิง

  • สารสกัดชั้นน้ำและชั้นเมทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase
  • สารสกัดจากเปลือกรากมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • สาร Calophyllolide ซึ่งเป็นสารจำพวก Lactone ที่แยกได้จากต้นกระทิงมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ
  • สารสกัดและสารที่แยกได้จากเปลือกรากของกระทิงมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียจำพวกแกรมบวก และสารจำพวก Coumarin ที่ได้จากต้นกระทิงมีฤทธิ์ในการยับยั้ง Retrovirus หลายชนิด[7]
  • สารจากต้นกระทิงมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของ Phagocyte
  • ฤทธิ์ในการต้านเชื้อ HIV สารคูมาริน 2 ชนิด ที่พบในใบและกิ่งของต้นกระทิง คือ inophyllum B และ P มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ของ HIV-1

คุณค่าทางโภชนาการของสารภีทะเล

การแปรรูปของสารภีทะเล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9766&SystemType=BEDO
https:// adeq.or.th
https://khaolan.redcross.or.th
https://www.flickr.com

Add a Comment