สารภีป่า
ชื่ออื่นๆ : แก้มอ้น (ชุมพร) คำโซ่, ตองหนัง, ต้ำจึง, ตีนจำ, ทำซุง, บานมา, พระราม, โมงนั่ง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ทึกลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ปันม้า, ส้านแดง, ส้านแดงใหญ่, สารภี, สารภีควาย, สารภีดอย, สารภีหมู, สุน (เชียงใหม่) ฮาฮอย (เขมร-สุรินทร์)
ต้นกำเนิด : ประเทศกัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย และเวียดนาม
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anneslea fragrans Wall.
ชื่อพ้อง : Callosmia fragrans (Wall.) C.Presl, Daydonia fragrans (Wall.) Britten, Mountnorrisia fragrans
ชื่อวงศ์ : Theaceae
ลักษณะของสารภีป่า
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร ลำต้นคดงอ แตกกิ่งต่ำ เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นไม่เป็นระเบียบ อาจมีรอยแตกลึกเป็นลวดลายละเอียด บางครั้งเปลือกสีครีมค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีแดงปนน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน กว้าง 2.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร มักจะพบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบสีเขียวเข้ม แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวเรียบและเป็นมัน ลักษณะมนรีแคบ ขอบใบไม่มีซี่บางครั้งอาจเป็นซี่ป้านๆ เส้นใบข้างมักจะอยู่ชิดขนานกัน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบ ก้านใบยาว 1.5-3 เซนติเมตร แผ่เป็นปีกเล็กน้อย มักจะมีแต้มสีแดงเข้ม กิ่งก้านสีน้ำตาลเข้ม

ดอก ดอกเดี่ยว ขนาด 3-4 เซนติเมตร ออกเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง ชี้ลงดิน มีดอกจำนวนมาก ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ สีเหลืองแกมชมพู ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร คลี่ขยายออก มีขนที่ขอบกลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวครีม เบียดชิดกันอยู่ตรงกลางปิดส่วนเกสร ที่โคนหุ้มเกสรเป็นโคนแหลมตรงกลางดอก กลีบแคบตรงกลาง ปลายแหลม ขนาด 1.5-2 เซนติเมตร เชื่อมกันที่ฐานส่วนบน เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก สีส้มอ่อน อับเรณูมีรยางค์ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ก้านเกสรตัวเมียเป็น 3 แฉก ออกดอกราวเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม

ผล ผลค่อนข้างกลม รูประฆัง ผิวเรียบ มีเนื้อหนา คล้ายหนัง ยาว 1.5-5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงติดคงทนสีแดงส้ม เจริญขึ้นมาปกคลุมจนมิด ส่วนนี้จะแข็งคล้ายไม้ และแตกออกไม่สม่ำเสมอเมื่อผลแก่จัด ผลแก่สีส้ม มี 2-9 เมล็ด มีเนื้อ (aril) สีแดงห่อหุ้ม ผลแก่ราวเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน

การขยายพันธุ์ของสารภีป่า
การเพาะเมล็ด
พบทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นสันหินในป่าสน บางครั้งพบในป่าที่ชื้น ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ที่ความสูง 850-1,700 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ธาตุอาหารหลักที่สารภีป่าต้องการ
ประโยชน์ของสารภีป่า
- เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือนได้ดี
- ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา
สรรพคุณของสารภีป่า
- เปลือก ดอก ใช้ถ่ายพยาธิ แก้บิด และแก้ไข้
- ทั้งต้น ผสมสมุนไพรจำพวกประดง รวม 9 ชนิด ต้มน้ำดื่มรักษาโรคประดง
คุณค่าทางโภชนาการของสารภีป่า
การแปรรูปสารภีป่า
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com, หอพรรณไม้ Forest Herbarium – BKF
ดอกสารภีป่ามีกลิ่นหอม