สาหร่ายทะเล เป็นพืชที่อาศัยอยู่ใต้ทะเล สามารถใช้แสงอาทิตย์ในการสร้างอาหารเช่นเดียวกับพืชทั่วไป

สาหร่ายทะเล

ชื่ออื่นๆ : –

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : Seaweed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : –

ชื่อวงศ์ : –

ลักษณะของสาหร่ายทะเล

สาหร่ายทะเลเป็นพืชที่อาศัยอยู่ใต้ทะเล สามารถใช้แสงอาทิตย์ในการสร้างอาหารเช่นเดียวกับพืชทั่วๆไป ดังนั้น มันจึงเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีแสงแดดส่องอย่างทั่วถึง แต่สาหร่ายทะเลไม่มี ราก ดอก และใบเหมือนพืชบนบก สาหร่ายทะเลมีหลายสี เช่น เขียว แดง และน้ำตาล พวกสาหร่ายสีเขียว ต้องการแสงมาก จึงเจริญเติบโตอยู่ใกล้ชายฝั่ง ส่วนสาหร่ายใบพาย และสาหร่ายสีน้ำตาลชนิดอื่นๆ ไม่ต้องการแสงมากจึงอยู่ในน้ำที่ลึกลงไป และค่อนข้างมืดได้

แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมากนัก คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่เป็นพวกที่ย่อยยากในตัวคน โปรตีนก็มีน้อยแต่สิ่งที่ได้จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด นอกจากเป็นอาหารคน เช่น สาหร่ายอบกรอบ และปัจจุบันนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยและเป็นยา

สาหร่ายทะเล
สาหร่ายทะเล เป็นพืชทะเลชนิดหนึ่ง

การขยายพันธุ์ของสาหร่ายทะเล

กระจายพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์และแบ่งตัว

สาหร่ายทะเล (Seaweeds) สามารถแยกออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ตามลักษณะของเม็ดสีในเนื้อเยื่อ คือ
1.สาหร่ายสีเขียว (Green algae) (Division: Chlorophyta)
2.สาหร่ายสีน้ำตาล (Brown algae) (Division: Phaeophyta)
3.สาหร่ายสีแดง (Red algae) (Division: Rhodophyta)
4.สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) (Division: Cyanophyta)

ธาตุอาหารหลักที่สาหร่ายทะเลต้องการ

ประโยชน์ของสาหร่ายทะเล

สาหร่ายทะเลมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การรับประทานสาหร่าย หรือเพิ่มสาหร่ายลงในอาหารมีส่วนช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ และช่วยในการลดน้ำหนักด้วย

ประเภทของสาหร่ายทะเล ได้แก่ สาหร่ายโนริ สาหร่ายเคลป์ สาหร่ายวากาเมะ สาหร่ายคอมบุ สาหร่ายสไปรูลิน่า และคอลเรลล่า

สาหร่ายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ แร่ธาตุ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน มีวิตามิน C วิตามิน B วิตามิน A วิตามิน E ธาตุเหล็ก และไอโอดีนอีกด้วย (โฮ้ประโยชน์เยอะมากมายเลยค่ะ) นอกจานี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งอาจปกป้องร่างกายจากความเครียด ที่เกิดจากการเกิดออกซิเดชัน และลดการอักเสบในระดับเซลล์ได้

  1. ช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ในการควบคุมและปล่อยฮอร์โมนเพื่อผลิตพลังงาน ช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ ซึ่งการทำงานของไทรอยด์ต้องการสารไอโอดีน เพื่อช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นหากร่างกายขาดไอโอดีนจะส่งผลต่อการเกิดคอพอก ต่อมไทรอยด์โต ซึ่งสาหร่ายทะเลเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารไอโอดีนจำนวนมาก
  2. สาหร่ายเป็นพืชที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ มีปริมาณเส้นใยสูง ซึ่งเส้นใยเหล่านี้สามารถเป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ได้ เมื่อแบคทีเรียในลำไส้ได้อาหารที่ดีอย่างสาหร่ายก็จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ลำไส้แข็งแรงและช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
  3. มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับอินซูลิน รวมทั้งยังช่วยลดน้ำหนักอีกด้วย ซึ่งพบว่าเส้นใยอาหารจำนวนมากช่วยให้รู้สึกอิ่ม ส่งผลให้กระเพาะอาหารอาจไม่ส่งสัญญาณความหิวไปยังสมองเป็นเวลานาน อาจช่วยป้องกันการรับประทานมากเกินไปได้

ข้อแนะนำ : ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะในสาหร่ายทะเลมีโซเดียมสูง จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไต

สาหร่ายทะเลสีเขียว
สาหร่ายทะเลสีเขียว

สรรพคุณทางยาของสาหร่ายทะเล

คุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายทะเล

การแปรรูปของสาหร่ายทะเล

มีการนำสาหร่ายบางสายพันธ์มาบริโภค เช่น จี้ฉ่าย หรือ สาหร่ายโนริ (Nori) เป็นสาหร่ายสีแดงลักษณะแผ่นคล้ายใบมีด นำมาใส่กับต้มจืดใส่หมูสับด้วย และประยุกต์นำมาทอดกรอบเป็นอาหารว่างได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10054&SystemType=BEDO
https://nmc.go.th
https://th.wikipedia.org
www.nectec.or.th

Add a Comment