ส่องฟ้า เป็นแหล่งอาหารสัตว์ธรรมชาติสำหรับแทะเล็ม ใบอ่อนทานเป็นผัก

ส่องฟ้า

ชื่ออื่นๆ : สมัดใหญ่ (เลย) ส่องดาว ส่องฟ้า(ตะวันออกเฉียงเหนือ) ส่องฟ้าดง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ส่องฟ้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clausena harmandiana (Pierre) Pierre ex Guillaumin

ชื่อวงศ์ : RUTACEA

ลักษณะของส่องฟ้า

ไม้พุ่มขนาดเล็กอายุหลายปี ทรงต้นตั้ง สูง 39.35-66.91 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 4.9-7.7 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลเข้ม ไม่มีขน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnately) เรียงสลับ ใบย่อยมี 3-7 ใบ รูปร่างใบแบบขอบขนานแกมรูปไข่(ovate-oblong) ปลายใบแหลม(acute) ขอบใบด้านล่างโค้งเบี้ยวเล็กน้อย ใบยาว 6.81-11.05 เซนติเมตร กว้าง 2.82-5.32 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบมัน(lustrous) มีจุดน้ำมันกระจายและจุดโปร่งแสง(punctate)สามารถส่องทะลุไปอีกด้านได้ ขอบใบมีรอยหยักแบบฟันเลื่อยห่าง(serrate)และมีขนสั้นๆตรงรอยหยัก เส้นใบเรียงตัวแบบร่างแห ช่วงมีดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน ช่อดอกแบบแยกแขนง(panicle)เกิดที่ปลายยอด ดอกเดี่ยวสีเหลืองอมเขียวอ่อนๆ อับเรณูสีเหลือง ช่อดอกยาว 7.97-13.53 เซนติเมตร จะติดผลมากช่วงเดือนเมษายน ผลเป็นรูปกลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่เป็นสีชมพูอมขาว ลักษณะผลแก่ค่อนข้างฉ่ำน้ำและมีเมล็ดเดียว

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นกระจายทั่วไปในพื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ที่เป็นป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ดินทรายถึงดินร่วนทราย เช่น ป่าบ้านปลา อีด ตำบลนาแก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ป่าดงมะไฟ บ้านน้ำเกี้ยง ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ป่าหนองขาย่าง บ้านโคกเพชร ตำบลดอนสำราญ ป่าดงเค็ง ตำบลหนองขะมาร อำเภอคูเมือง และป่าพลวง ป่าเต็ง ป่ารัง ตำบลหัวถนน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (PC 548, PC 608) และพบขึ้นทั่วไปในเขตป่าชุ่มชื้นต้นน้ำคลองแสง ตำบลคลองแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ส่องฟ้า
ส่องฟ้า ไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก ขอบใบด้านล่างโค้งเบี้ยวเล็กน้อย
ดอกส่องฟ้า
ดอกส่องฟ้า ดอกเดี่ยวสีเหลืองอมเขียวอ่อน

การขยายพันธุ์ของส่องฟ้า

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ส่องฟ้าต้องการ

ประโยชน์ของส่องฟ้า

  • เป็นแหล่งอาหารสัตว์ธรรมชาติสำหรับแทะเล็มส่วนยอดและใบของ โค กระบือ สัตว์ป่า
  • ใบอ่อนเป็นอาหารผักสำหรับคนบริโภคได้

สรรพคุณทางยาของส่องฟ้า

ยาพื้นบ้านใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ปวดศรีษะ แก้ผิดสำแดง ผสมกับรากหนามงัวซังและเหง้าว่านน้ำปริมาณเท่ากัน ต้มน้ำดื่ม แก้หลอดลมอักเสบ หรือผสมกับรากพังคี ต้มน้ำดื่ม แก้จุกเสียด หรือผสมกับรากน้ำนมราชสีห์ รากทับทิมและเดือยไก่ ป่า ฝนกับน้ำกินและทาตัวแก้ไข้ทำมะลา(อาการไข้หมดสติและตายโดย ไม่ทราบสาเหตุ) (วงศ์สถิตย์และคณะ, 2543)

คุณค่าทางโภชนาการของส่องฟ้า

การแปรรูปของส่องฟ้า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11881&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment