ส้มขี้มอด ใบอ่อนใช้ใส่อาหารประเภทต้มเพื่อให้มีรสเปรี้ยว ผลสุกรับประทานได้มีรสหวาน

ส้มขี้มอด

ชื่ออื่นๆ : ส้มขี้มอดขาว, ส้มขี้มอด (นครราชสีมา)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ส้มสันดาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Embelia subcoriacea (C.B. Clarke) Mez

ชื่อวงศ์ : MYRSINACEAE

ลักษณะของส้มขี้มอด

ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม้เลื้อย  สูง 3-5 ม.

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 1 ซม. กิ่งอ่อน ใบอ่อนมีขนนุ่มสีน้ำตาลแดง ลำต้นกลมตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเทาคล้ำ

ดอก เป็นดอกช่อ มักออกตามซอกใบหรือ ตากิ่ง

ผล ผลมีลักษณกลมเหมือนผลส้มแต่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกสีม่วง หรือสีดำ เนื้อผลนุ่ม มีรสเปรี้ยว 1 ผล มี 1 เมล็ด

ต้นส้มขี้มอด
ต้นส้มขี้มอด ไม้พุ่มรอเลื้อย ใบรี ผิวใบเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของส้มขี้มอด

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ส้มขี้มอดต้องการ

ประโยชน์ของส้มขี้มอด

  • ผลสุกรับประทานได้ มีรสหวาน
  • ใบอ่อน ใช้ใส่อาหารประเภทต้มเพื่อให้มีรสเปรี้ยว
ผลส้มขี้มอด
ผลส้มขี้มอด ผลกลมเล็ก ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วง หรือสีดำ

สรรพคุณทางยาของส้มขี้มอด

  • แก่น ทำเป็นยาดื่มแก้ไข้
  • ใบ มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาระบาย

คุณค่าทางโภชนาการของส้มขี้มอด

การแปรรูปของส้มขี้มอด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11878&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment