ส้มซ่า
ชื่ออื่นๆ : มะขุน ภาษาเหนือ, ส้มส่า, มะนาวควาย, ส้มมะงั่ว
ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantium var. aurantium
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะของส้มซ่า
ต้น ส้มซ่าเป็นพืชตระกูลส้มชนิดหนึ่ง รูปลักษณ์ภายนอกดูคล้ายมะกรูด แต่เนื้อในและรสชาติไม่เหมือนมะกรูด เป็นไม้ต้น สูง 3-8 เมตร เปลือกลำต้นสีดำ ทรงพุ่มกลม มีกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม กิ่งมีหนามแหลมสั้น
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ มีต่อมน้ำมันเป็นจุดกระจายทั่วใบ ทำให้มีกลิ่นหอม ตัวใบแบ่งเป็นสองส่วน ครึ่งบนเป็นแผ่นกว้างรูปไข่ขนาด 7x10 ซม. ครึ่งล่างแผ่เป็นปีกแคบคล้ายรูปสามเหลี่ยม ขนาดกว้างถึง2x3 ซม. ใบหนา สีเขียวเข้มขอบใบเรียบหรือมีจักเล็กน้อย
ดอก ดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มออกที่ซอกใบ กลีบสีขาวมีกลิ่นหอมแรง กลีบดอก มี 4-5 กลีบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล ผลทรงกลม ขนาดส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 ซม. มี 10-12 ห้อง เปลือกหนา สีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวผลเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย กุ้งหยาบสีส้มเหลืองมีกลิ่นหอม เนื้อคล้ายส้มโอ รสหวานอมเปรี้ยว ให้ผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคม
เมล็ด เมล็ดขนาด 0.4-0.6 มม. จำนวน 25-25 เมล็ดต่อผล
การขยายพันธุ์ของส้มซ่า
การเพาะกล้า และตอนกิ่ง
การปลูก ปลูกบนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ได้แสงแดดไม่น้อยกว่าครึ่งวัน
ธาตุอาหารหลักที่ส้มซ่าต้องการ
ประโยชน์ของส้มซ่า
ผิวผล และน้ำในผล ใช้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยาของส้มซ่า
- เปลือกผล รสปร่าหอมใช้ทำยาหอมแก้ลมวิงเวียนหน้ามืดตาลาย แก้ท้องอืดเฟ้อ
- น้ำในผล รสเปรี้ยวอมหวาน กัดฟอกเสมหะแก้ไอ ฟอกโลหิต
- ใบ รักษาโรคผิวหนัง
คุณค่าทางโภชนาการของส้มซ่า
การแปรรูปของส้มซ่า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9959&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com