ส้มลม ไม้เถาเลื้อย ยอดอ่อนรับประทานได้ มีรสเปรี้ยว

ส้มลม

ชื่ออื่นๆ : เครือส้มลม (อุบลราชธานี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ส้มลม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aganonerrion polymorphum pierr ex spire

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของส้มลม

ต้น ไม้เถาเลื้อย ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวและเหนียว

ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่หรือขอบขนานปลายใบเรียวแหลมหรือแหลมโคนใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบกว้าง2-4 ซม.ยาว4-6ซม.

ดอก ช่อออกที่ปลายกิ่งกลีบเลี้ยง5กลีบ กลีบดอกมี5กลีบโคนเชื่อมติดกันสีขาวอมเขียวปลายแยกสีแดงหรือชมพู

ผล เป็นฝักคู่สีเขียวผลแก่สีน้ำตาลผลแห้งจะแตกเมล็ดสีน้ำตาลมีขนสีขาว

ส้มลม
ส้มลม ไม้เถาเลื้อย ปลายใบเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของส้มลม

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ส้มลมต้องการ

ประโยชน์ของส้มลม

  • ยอดอ่อนรับประทานได้ มีรสเปรี้ยว
  • รากต้มน้ำดื่ม แก้ท้องอืด เป็นยาระบาย(จากการสัมภาษณ์และจัดประชุมผู้รู้ในท้องถิ่น)

สรรพคุณทางยาของส้มลม

ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี

  • ราก ต้มน้ำดื่ม แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับลม เข้ายาแก้ตกขาว ทั้งต้น ต้มน้ำอาบ แก้คัน

ยาพื้นบ้าน

  • ราก ต้มน้ำดื่ม แก้กล้ามเนื้อท้องเกร็ง หรือผสมกับต้นเล็บแมว ต้นตับเต่าโคก ต้นมะดูก ต้นเปล้าใหญ่หรือเปล้าน้อย ต้นมะเดื่ออุทุมพร ต้นกำจาย ต้นกำแพงเจ็ดชั้น และต้นกระเจียน ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย
  • ลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้ลมวิงเวียน

ตำรายาไทย

  • ราก แก้ลม แก้ช้ำใน แก้ไข้ ขับเสมหะ และโลหิต

คุณค่าทางโภชนาการของส้มลม

การแปรรูปของส้มลม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9301&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment