ส้มโอ หรือ ลูกโอ ผลไม้รสเปรี้ยว รสเปรี้ยวอมหวาน หรือรสหวาน

ส้มโอ หรือ ลูกโอ

ชื่ออื่นๆ : โกร้ยตะลอง (เขมร) มะขุน, มะโอ (ภาคเหนือ) ลีมาบาลี (มลายู-ยะลา) สังอู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ส้มโอ (ทั่วไป), ลูกโอ (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : หมู่เกาะมลายู อินเดีย จีน และไทย

ชื่อสามัญ : Pummelo

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus maxima (Burm.f.) Merr.

ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ลักษณะของส้มโอ หรือ ลูกโอ

ต้น ส้มโอเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8- 9 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนสั้นๆมีหนามรูปร่างยาว

ใบ ใบเดี่ยว รูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่นเล้กน้อย ปลายใบมน เช่นเดียวกับโคนใบ

ดอก ออกดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ มีสีขาวมีกลีบดอก 4 กลีบ

ผล รูปร่างกลมโต เปลือกหนามีต่อมน้ำมันมาก ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่หรือสุกมีสีเหลือง ขนาดผลยาวประมาณ 9- 10 ซม. เนื้อในมีสีเหลืองอ่อนๆ ให้ผลผลิตช่วงกรกฎาคม-กันยายน

ต้นส้มโอ
ต้นส้มโอ ลำต้นมีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนสั้นมีหนาม

การขยายพันธุ์ของส้มโอ หรือ ลูกโอ

ใช้กิ่ง/ลำต้น

การขยายพันธุ์ส้มโอทำได้หลายวิธีคือ การเพาะเม็ด การติดตา การเสียบกิ่ง การตอน แต่ที่ชาวสวนนิยมทำอยู่ในปัจจุบันคือการตอน ซึ่งเป็น วิธีที่ชาวสวนส้มโอมีความชำนาญมาก เนื่องจากมีข้อดีหลาย ประการ เช่น วิธีการทำง่าย ุอุปกรณ์หาได้ง่าย ราคาถูก ออกรากเร็ว ต้นที่ได้ไม่กลายพันธุ์ ให้ผลเร็ว ต้นไม่สูง ทรงต้น เป็นพุ่ม สะดวกในการเข้าไปดูแลรักษา

ฤดูที่ทำการตอนกิ่งส้มโอ ตามปกติแล้ว การตอนกิ่งไม้ทุกชนิดจะทำการตอนใน ฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม เพราะ ในระยะนั้นต้นไม้กำลังอยู่ในระยะที่กำลังเจริญเติบโต ฝนตก บ่อยไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำให้กับกิ่งตอน
การคัดเลือกกิ่งตอน
ก่อนที่จะทำการคัดเลือกกิ่งส้มโอที่จะตอน ต้อง พิจารณาเลือกต้นก่อน เพราะถ้าต้นแม่พันธุ์ที่ใช้ตอนไม่ดีแล้ว กิ่งตอนที่จะนำไปปลูกต่อไปก็จะไม่ดีด้วย ซึ่งมีหลักในการ พิจารณาหลายประการ เช่น
เลือกต้นแม่พันธุ์ที่ให้ผลแล้ว ซึ่งทำให้เราสามารถ จะพิจารณาลักษณะที่ดีๆ ตามมาได้อีก
เป็นต้นที่ให้ผลดก ให้ผลสม่ำเสมอ เป็นพันธุ์ดี และมีรสดี
เลือกจากต้นที่มีความเจริญเติบโต แข็งแรง สังเกต จากมีการเจริญเติบโตดีกว่าต้นอื่นๆ
เลือกจากต้นที่ปราศจากโรคและแมลงรบกวน

เมื่อเลือกได้ต้นที่ดีแล้ว จึงมาทำการคัดเลือกกิ่งที่จะ ตอน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ส่วนมากชาวสวนมักไม่ค่อย คำนึงถึงกัน เห็นกิ่งใดพอที่จะตอนได้ก็ตอนหมด ซึ่งนับว่าไม่ ถูกต้อง เพราะว่าต้นไม้แต่ละต้นมีกิ่งที่มีความเจริญเติบโต สมบูรณ์ไม่เท่ากัน บางกิ่งก็แข็งแรงดี บางกิ่งแคระแกน อ่อนแอ บางกิ่งก็แก่เกินไปหรืออ่อนเกินไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้ได้กิ่งตอน ที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรเลือกกิ่งตอนดังนี้

  1. กิ่งที่จะใช้ตอนนั้น ต้องเป็นกิ่งเพสลาด คือไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป มีใบยอดคลี่เต็มที่ และเจริญเติบโตจนเป็น ใบแก่แล้ว
  2. กิ่งที่จะตอนควรจะเป็นกิ่งกระโดงตั้งตรง หรือเอียง เล็กน้อย ไม่เป็นกิ่งที่ห้อยเอายอดลงดิน เพราะจะทำให้รากที่ งอกออกมางอ เมื่อตัดไปปลูกจะได้กิ่งตอนที่ปลายรากชี้ฟ้า
  3. เป็นกิ่งที่มีความยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร มีกิ่งแขนงแยกออก 2-3 กิ่ง 4. เป็นกิ่งที่เจริญเติบโตแข็งแรงปราศจากโรคและ แมลง

ธาตุอาหารหลักที่ส้มโอ หรือ ลูกโอ ต้องการ

ประโยชน์ของส้มโอ หรือ ลูกโอ

  1. ประโยชน์ของส้มโอ ตลาดส้มโอ การปอกเปลือกส้มโอ การป้องกันกำจัดศัตรูส้มโอ การป้องกันกำจัด ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษาส้มโอ
  2. ส้มโอสามารถล้างสารพิษได้ด้วย วิธีทำ ให้ทานส้มโอแทนข้าวเย็นประมาณ 7 วัน ขอเน้นว่าทานแทนข้าวเย็นนะ ส้มโอจะช่วยล้างสารพิษในร่างกายได้ ส้มโอสามารถช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก วิธีทำ ให้ทานส้มโอจิ้มกับยาหอม อาจจะทานยากนิดนึ่งแต่การทานส้มโอแบบนี้จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นหน้าอกได้
  3. เปลือกส้มโอแก้โรคผิวหนัง คุณเคยเป็นโรคผิวหนังใหม โรคผิวหนังแก้ไม่ยาก แค่เอาเปลือกส้มโอหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกันน้ำจนมันงวด แล้วเอาน้ำที่ได้มาทาตรงที่เป็นโรคผิวหนัง แค่นี้อาการก็จะดีขึ้น แต่ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกว่าหายช้าไปก็ต้มน้ำกับเปลือกส้มโอกินด้วยก็ได้
  4. ส้มโอเป็นผลไม้ในตระกูลเดียวกันกับพวกส้ม ส้มโอมีวิตามินและเกลือแร่มากมายเช่น วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม กรดอินทรีย์ โมโนเทอร์ปีน และในส้มโอมีสารที่ช่วยต้านมะเร็งได้ด้วย
ผลส้มโอ
ผลส้มโอ ผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวอ่อนหรืออมเหลือง

สรรพคุณทางยาของส้มโอ หรือ ลูกโอ

  • ผลส้มโอ ขับลมในลำไส้ แก้เมาเหล้า
  • เปลือกผลของส้มโอจะช่วยขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก แก้ไส้เลื่อน
  • ใบส้มโอ นำมาต้มพอกสรีษะแก้ปวดหัว นอกจากนั้นยังเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้ออีกด้วย
  • ดอกส้มโอ แก้อาการปวดกระบังลม และปวดในกระเพาะอาหาร เมล็ดส้มโอ ก็มีประโยชน์อยู่มากเช่นกัน แก้ไส้เลื่อน ลำไส้หดตัว แก้ไอ แก้ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหารได้อย่างดี

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ หรือ ลูกโอ

  • ส้มโอเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานน้อย ในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 41 กิโลแคลอรี
  • ในขณะที่มีโพแทสเซียมค่อนข้างสูง ส่วนน้ำตาลในส้มโอ 100 กรัม (ประมาณ 4 กลีบเล็ก หรือ 2 กลีบกลาง) อยู่ที่ 7.1-9.9 กรัม หรือ 1.8-2.5 ช้อนชา

การแปรรูปของส้มโอ หรือ ลูกโอ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11151&SystemType=BEDO
https://swis.acu.ac.th
https://www.flickr.com

4 Comments

Add a Comment