ส้านชะวา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศบรูไนดาลุสซาลาม

ส้านชะวา

ชื่ออื่นๆ : ส้านยะวา, ดอกซิมปอร์

ต้นกำเนิด : คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว ชวา และสุมาตรา

ชื่อสามัญ : Dillenia, Simpor

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dillenia suffruticosa (Griff.) Martelli.

ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE

ลักษณะของส้านชะวา

ต้น ไม้ยืนต้น เปลือกสีน้ำตาลเข้มอมแดง กิ่งรูปทรงกระบอก ผิวเรียบไม่มีหนาม

ใบ รูปรีหรือรูปไข่ ปลายมนหรือกลม โคนมน ขอบจักตามเส้นแขนงใบ สีเขียวเข้ม เส้นแขนงใบข้างละ 12-20 เส้น ก้านใบมีปีกกว้าง หุ้มใบขณะที่เป็นใบอ่อน

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะออกตามปลายกิ่ง มี 4-18 ดอก กลีบเลี้ยงรูปไข่กลับหุ้มดอกไว้ขณะเป็นดอกตูม 5 กลีบซ้อนทับกัน กลีบดอกสีเหลือง รูปรีหรือรูปไข่ แผ่นบางหยักเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 2 ชั้น สีขาว วงนอกโค้ง วงในสุดพับงอ

ผล รูปกลมแป้น ผลสุกมีสีส้มหรือแดง แตกเป็น 6 แฉก

ต้นส้านชะวา
ต้นส้านชะวา ต้นผิวเรียบไม่มีหนาม ใบรูปรีสีเขียวเข้ม
ดอกส้านชะวา
ดอกส้านชะวา กลีบดอกสีเหลือง เกสรสีขาว

การขยายพันธุ์ของส้านชะวา

ตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ส้านชะวาต้องการ

ประโยชน์ของส้านชะวา

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศบรูไนดาลุสซาลาม

สรรพคุณทางยาของส้านชะวา

คุณค่าทางโภชนาการของส้านชะวา

การแปรรูปของส้านชะวา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11199&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment