สํามะง่า ไม้พุ่มเลื่อย ดอกมีสีขาว ออกตามงามและใบกิ่งเป็นช่อกระจุก

สํามะง่า

ชื่ออื่นๆ : สำลีงา, สำมะลีงา (กลาง, ตะวันออก); เขี้ยวงู (ประจวบฯ); ส้มเนรา (ระนอง); สักขรีย่าน (ชุมพร); สำปันงา (สตูล)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : สำมะงา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum inerme(L.)Gaertner.

ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE

ลักษณะของสํามะง่า

ลักษณะ เป็นไม้พุ่มเลื่อย สูง1-2เมตร ลําต้นทอดนอนแผ่กระจัดกระจายโดยรอบ มีขนน่มปกคลุมส่วนอ่อนๆทั้งหมด ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามแผ่นใบรูบใบหอกมีรูปรี ขนาด1.5-4×3-8ซม.ฐานใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อค่อนข้างหนามีขนประปรายทางด้านท้องใบ เส้นใบ6-8คู่ ก้านใบยาว0.4-1ซม.
ดอกออกตามง่ามและใบกิ่งเป็นช่อกระจุก 3ดอกช่อดอกยาว4-8ซม. ก้านช่อดอกยาว2-5ซม. ก้านดอกย่อยยาว0.5-1ซม.วงกลีบเลี้ยงรูประฆังยาว
0.3-0.4ซม.ปลายเนแฉกตื้นๆ 5แฉก กลีบดอกติดกันเป็นดอกเล็กๆยาว2-3ซม.กลีบดอก5กลีบ สีขาวเส้นผ่านศูนย์กลาง0.8ซม.เกสรตัวผู้4อันอยู่เหนือ
หลอดกลีบดอก ก้านชูอันเรณูสีแดงอมม่วง
ผล กลมหรือรูปไข่กลับ กว้าง1.2-1.8ซม.เมื่อแห้งจะมีร่องตามยาว 4ร่อง ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่ออกสีดํา ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผล
เมล็ดแข็งแรงมากมี1-4เมล็ดออกดอกผล เกือบตลอดปี
แหล่งที่พบ ส่วนมากจะขึ้นตามบริเวณที่ชื้นแชะและตอนบนของป่าชายเลน

สำมะง่า
สำมะง่า ใบรูปรี เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของสํามะง่า

วิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการตอนกิ่งปักชำ 

ธาตุอาหารหลักที่สํามะง่าต้องการ

ประโยชน์ของสํามะง่า

สรรพคุณทางยาของสํามะง่า

แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้ไข้ ตับอักเสบ ตับโต ม้ามโต ขับน้ำเหลืองเสียให้ผู้ป่วยกามโรค ละแก้ไขข้ออักเสบเป็นตัวยาแทนควินิน แก้ท้องอืด แน่นท้อง แก้บวม แก้หนอง แก้บิด แก้อาหารเป็นพิษที่ทำให้ปวดท้อง

คุณค่าทางโภชนาการของสํามะง่า

การแปรรูปของสํามะง่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9471&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment