ตองกง
ชื่ออื่นๆ : ตองกง, ก๋ง (เหนือ) เค้ยหลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เลาแล้ง (สุโขทัย) หญ้ากาบไผ่ใหญ่ (เลย) หญ้าไม้กวาด, หญ้ายูง (ยะลา
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : bamboo grass, tiger grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thysanolaena latifolia (Roxb. ex Hornem) Honda
ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE
ลักษณะของตองกง
ต้น เป็นหญ้าล้มลุก มีเหง้า เป็นพืชอายุหลายปี หลายฤดู ลำต้นตั้ง เจริญเติบโตแบบอยู่เป็นกอ ที่แข็งแรงมาก ลำต้นคล้ายต้นไผ่ สูงราว 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 7.6-17.6 มิลลิเมตร
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปหอกเรียวยาวมีขนาดใหญ่ ใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร หน้าใบและหลังใบไม่มีขน ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น มีเยื่อกันน้ำฝนค่อนข้างหนาระหว่างแผ่นใบกับก้านใบ กาบใบเรียบ เรียบ สีเขียวอมขาวนวล ยาว 7.5-20.9 เซนติเมตร แต่ละใบเรียงตัวห่างตลอดลำต้น ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยง กาบใบเกลี้ยงสั้นกว่าปล้อง ยาว 13-20 เซนติเมตร ส่วนลิ้นใบเป็นแผ่นเยื่อบางๆ สีน้ำตาลอ่อน
ดอก ออกดอกตลอดทั้งปี ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ แบบ panicle ยาวประมาณ 50 ซม.แผ่แบบไม้กวาด แตกแขนงเล็กๆ จำนวนมาก ช่อดอกยาว 72.6-112.3 เซนติเมตร ส่วนของหัวยาว 50-70 เซนติเมตร ช่อดอกมีขนนุ่มละเอียด กลุ่มดอกย่อย มีขนาดเล็กมีดอกย่อย 2 ดอก ดอกล่างลดรูปเป็นเยื่อบางๆเป็นดอกหมัน ดอกบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แหลม มีรยางค์ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเส้นบนกาบ 1 เส้น เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 0.3มิลลิเมตร อับเรณูยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร สีเหลือง มีรังไข่อยู่ ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนสิงหาคม
ผล ผลขนาดเล็กมีเมล็ดเดียว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ผลมีสีแดง
การขยายพันธุ์ของตองกง
การใช้เมล็ดและส่วนลำต้นหรือเหง้าใต้ดิน
ขึ้นตามที่โล่งสองข้างทาง ไหล่เขา และชายป่า ต่างประเทศพบที่อินเดีย จีน พม่า และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วทุกภาค
ธาตุอาหารหลักที่ตองกงต้องการ
ประโยชน์ของตองกง
- ใช้ทำเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย
- ใบใช้ห่อข้าวเหนียว ซึ่งมักจะทำในพิธีต่างๆเช่นพิธีผูกข้อมือ
- ช่อดอกตากแห้งแล้วถักยึดกับด้ามไม้ใช้เป็นไม้กวาด
- ก้านช่อดอกตากแห้งแล้วนำไปมัดกับด้ามไม้ไผ่ใช้ทำไม้กวาด
- ดอก ช่อดอกใช้ทำไม้กวาด
- ยอดอ่อนเป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ ช้าง สัตว์ป่า
สรรพคุณทางยาของตองกง
รากนำไปต้ม ใช้อมกลั้วคอเมื่อมีไข้
คุณค่าทางโภชนาการของตองกง
ส่วนของใบและยอดอ่อน มีค่าโปรตีน 10.9เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 15.9 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2.7 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 5.6 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.10 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.38เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 1.01 เปอร์เซ็นต์
การแปรรูปของตองกง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10500&SystemType=BEDO
https:// th.wikipedia.org
https://www.flickr.com
One Comment