หญ้าปล้อง ชอบขึ้นในดินที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง หรือใน

หญ้าปล้อง

ชื่ออื่นๆ : หญ้าถอดปล้อง หญ้าปล้อง (กรุงเทพ) ริมปัต คัมไป (มลายู นราธิวาส)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : hymenachne, wick grass, dal grass

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hymenachne pseudointerrupta

ชื่อวงศ์ : –

ลักษณะของหญ้าปล้อง

เป็นพืชวงศ์หญ้าและพืชหลายฤดู  ลำต้นเอนนอนไปตามพื้นดิน และชูส่วนปลายยอดขึ้น ถ้าขึ้นในคูน้ำมักมีเถาเลื้อยคลุมผิวน้ำเป็นแพ ทุก ๆ ข้อที่แตะพื้นน้ำจะแตกรากและชูส่วนปลายยอดขึ้น สูง 45 – 100 เซนติเมตร ลำต้นกลวงอวบน้ำ ไม่มีขน เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 3.4 – 5.6 มิลลิเมตร ลำต้นจะมีสีเขียว และเขียวปนน้ำตาลอ่อน ใบมีลักษณะขอบใบเกือบขนานจนถึงปลายใบ ใบกว้าง 1.0 – 1.3 เซนติเมตร ยาว 16 – 21 เซนติเมตร หน้าใบมีขนละเอียดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ขึ้นหนาแน่นมาก หลังใบมีขนเล็กน้อย ขอบใบมีลักษณะเรียบ (entire) ฐานใบมีลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นสีน้ำตาลอ่อนปลายเรียบสูง 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร (membranous entire) ปากกาบใบมีขน กาบใบยาว 5.5 – 6.9 เซนติเมตร สีเขียวปนน้ำตาล ไม่มีขน บริเวณข้อของหญ้าปล้องมีสีน้ำตาล ช่อดอกแบบ spike กลาย ๆ หรือ spike – like panicle ช่อดอกยาว 38 – 45 เซนติเมตร เฉพาะส่วน head ของช่อดอกยาว 16 – 21 เซนติเมตร หญ้าที่อยู่ในระยะก่อนออกดอกจะมีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างดี  ชอบขึ้นในดินที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง หรือในท้องนา

หญ้าปล้อง
หญ้าปล้อง เถาเลื้อยคลุมผิวน้ำ เป็นแพ ลำต้นกลวงอวบน้ำ ไม่มีขน

การขยายพันธุ์ของหญ้าปล้อง

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อและเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าปล้องต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าปล้อง

เป็นอาหารสัตว์ โดยตัดเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์แทะเล็มพื้นที่ภาคกลางใช้เลี้ยงโคนม โคชอบกิน

สรรพคุณทางยาของหญ้าปล้อง

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าปล้อง

คุณค่าทางอาหาร อายุ 45 วัน  ประกอบด้วย
โปรตีน 11.5 – 16.8 เปอร์เซ็นต์
ฟอสฟอรัส 0.28 เปอร์เซ็นต์
โพแทสเซียม 2.24 เปอร์เซ็นต์
แคลเซียม 0.25 – 0.3 เปอร์เซ็นต์
ADF 29.3 – 35.2 เปอร์เซ็นต์
NDF 58.2 – 65.3 เปอร์เซ็นต์
DMD 60.5 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag)
ลิกนิน 4.7 เปอร์เซ็นต์

การแปรรูปของหญ้าปล้อง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12237&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment