หญ้าฝรั่น เป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี ลำต้นจริงอยู่ใต้ดินคล้ายกระเทียมหรือหอมแดง

หญ้าฝรั่น

ชื่ออื่นๆ : หญ้าฝรั่น [ฝะ-หฺรั่น] หรือ สรั่น [สะ-หฺรั่น]

ต้นกำเนิด : เอเชียไมเนอร์ และแถบทะเลเมติเตอเรเนียน

ชื่อสามัญ :  Saffron, Crocus,  True saffron

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crocus sativus L

ชื่อวงศ์ : IRIDACEAE

ลักษณะของหญ้าฝรั่น

ต้น  เป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นจริงอยู่ใต้ดินคล้ายกระเทียมหรือหอมแดง ลักษณะกลมสีน้ำตาลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร และมีเส้นใยหุ้มหัวอยู่หนาแน่น ส่วนลำต้นเทียมจะโผล่ออกมาจากดินลักษณะเป็นกาบใบหุ้มซ้อนกันขึ้นมาและมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร

ใบ  ใบมีลักษณะแคบยาวเรียวแหมยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร โดยใบเป็นสีเขียวซึ่งใบบริเวณโคนต้องจะแผ่กว้างลงดินส่วนในอ่อนจะชูตั้งขึ้น

ดอก  ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวโดย 1 ต้นจะมีดอก 1 ดอกซึ่งก้านดอกจะแทงออกมาจากหัวใต้ดิน ส่วนลักษณะของดอกจะเป็นสีม่วงกลีบดอกลักษณะเรียวยาว รูปไข่ปลายกลีบมน และมีเกสรตัวเมียสีแดงยาวโผล่พ้นเหนือดอก สำหรับดอกหญ้าฝรั่นจะสามารถอยู่ได้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์

ต้นหญ้าฝรั่น
ต้นหญ้าฝรั่น ลำต้นอยู่ใต้ดิน กาบใบหุ้มซ้อนกัน

การขยายพันธุ์ของหญ้าฝรั่น

ใช้หัว

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าฝรั่นต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าฝรั่น

  • หญ้าฝรั่นนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยจะช่วยทำให้อาหารมีสีเหลืองส้มสว่าง อย่างเช่น ลูกกวาด ขนมหวาน เค้ก พุดดิง คัสตาร์ด รวมไปถึงเหล้าและเครื่องดื่ม
  • ใช้ในการย้อมสีผ้า โดยให้สีเหลือง
ดอกหญ้าฝรั่น
ดอกหญ้าฝรั่น ดอกสีม่วง

สรรพคุณทางยาของหญ้าฝรั่น

  • ใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็ง และต่อต้านสารก่อกลายพันธุ์
  • ยอดเกสรและกลีบดอกหญ้าฝรั่นช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าได้
  • ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าฝรั่น

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าฝรั่น  ส่วนที่รับประทานได้ (100 กรัม) พลังงาน 310 กิโลแคลอรี

คาร์โบไฮเดรต 65.37 กรัม
ใยอาหาร 3.9 กรัม
ไขมัน  5.85 กรัม
โปรตีน 11.43  กรัม
วิตามินA 530 หน่วยสากล
วิตามินบB1 0.115 มิลลิกรัม
วิตามินB2 0.267 มิลลิกรัม
วิตามินB3 1.46 มิลลิกรัม
วิตามินB6 1.01 มิลลิกรัม
วิตามินB9 93 ไมโครกรัม
วิตามินC 80.8 มิลลิกรัม
แคลเซียม 111 มิลลิกรัม
เหล็ก 11.1 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 264 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 252 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 1,724 มิลลิกรัม
โซเดียม 148 มิลลิกรัม
สังกะสี 1.09 มิลลิกรัม
ซีลีเนียม 5.6 ไมโครกรัม

การแปรรูปของหญ้าฝรั่น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11017&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment