หญ้ารังนก
ชื่ออื่นๆ : หญ้ารังนก (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 35-85 เมตร
ชื่อสามัญ : swollen finger grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chloris barbata (L) Sw.
ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE
ลักษณะของหญ้ารังนก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร อายุปีเดียว ลำต้นสูง 87-120 เซนติเมตร ข้อที่แตะพื้นจะแตกราก โคนต้นแบน ข้อมีสีม่วง ใบยาว 5-12 เซนติเมตร กว้าง 3-5 มิลลิเมตร รอยต่อระหว่างใบ และกาบใบในบริเวณขอบจะมีขนยาว ลิ้นใบเป็นแผ่นเยื่อบางๆ (membranous entire) สีขาวสั้นมาก ประมาณ 0.1 มิลลิเมตร ออกดอกตรงส่วนปลายของลำต้น ช่อดอกยาว 27-30 เซนติเมตร มี 5-10 raceme จัดเรียงอยู่บนจุดเดียวกัน คล้ายรูปนิ้วมือ (digitate) แต่ละ raceme ยาว 6-7 เซนติเมตร ดอกมีขนนุ่มมีสีเขียวปนม่วง และปลายกลีบดอกมีหางยาว 5-6 มิลลิเมตร ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ของหญ้ารังนก
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หญ้ารังนกต้องการ
ประโยชน์ของหญ้ารังนก
การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของ โค กระบือ แพะ แกะ
สรรพคุณทางยาของหญ้ารังนก
คุณค่าทางโภชนาการของหญ้ารังนก
คุณค่าทางอาหาร อายุประมาณ 45 วัน มีค่าวัตถุแห้ง 27-36 เปอร์เซนต์ โปรตีน7.2-8.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.28-0.34 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.06-1.19 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.29-0.50 เปอร์เซนต์ ADF 36.1-42.9 เปอร์เซนต์ NDF 65.2-76.9 เปอร์เซนต์ ลิกนิน6.0 เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.07-0.09 เปอร์เซนต์ มิโมซิน 0.69 เปอร์เซนต์ ออกซาลิกแอซิด 0.04-0.07 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ DMD 42.2 เปอร์เซนต์ (โดยวิธี Nylon bag )
การแปรรูปของหญ้ารังนก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11277&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com