หญ้าหัวโม่ง กกดอกขาว พบขึ้นทั่วไปและโดยเฉพาะบริเวณที่มีความชุ่มชื้นหรือในนาข้าว

หญ้าหัวโม่ง กกดอกขาว

ชื่ออื่นๆ : หญ้าหัวโม่ง (สุราษฏร์ธานี) , จุยโงวซัง (จีน-แต้จิ๋ว), กกตุ้มหู

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Green Kyllinga

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus brevifolius (rottb.) Hassk.

ชื่อวงศ์ : Cyperaceae

ลักษณะของหญ้าหัวโม่ง กกดอกขาว

เป็นกกที่มีอายุยืนหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) เลื้อยทอดขนานไปกับดิน ชูส่วนยอดและช่อดอกสูง 15-20 ซม. ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร มีกาบหุ้มลำต้นสีน้ำตาลอมแดง มีระบบรากเป็นระบบรากฝอยออกตามข้อของลำต้นใต้ดิน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากส่วนโคนของลำต้น ใบมีรูปร่างเรียว ยาวประมาณ 5-15 ซม. ขอบใบเรียว ปลายใบแหลม ฐานใบแผ่เป็นการห่อหุ้มลำต้น ฐานใบมีสีน้ำตาลแดง ดอกออกเป็นช่อแบบเฮด (head) มีดอกย่อยเป็นจำนวนมากอัดแน่นอยู่ที่ปลายยอดของลำต้น ส่วนของลำต้นที่ชูช่อดอกจะมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมที่ฐานของช่อดอกมีแผ่นรองดอกสีเขียวคล้ายใบ (bracts) จำนวน 3 ใบ เป็นใบสั้น 2 ใบ และยาว 1 ใบ ในช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อย 2 ดอก คือดอกด้านล่างจะมีกาบ (glume) สีเขียวใส พับงอเข้าหากัน ปลายแหลม ดอกด้านบนจะมีกาบยาวกว่าด้านล่าง มีเกสรตัวผู้ 3 อัน อับละอองเกสร 2 อัน ส่วนเกสรตัวเมียมีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก ปลายยอดเกสรตัวเมียแยกเป็น 2 แฉก ช่อดอกดูเป็นสีเขียวอ่อน เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ ผล เป็นชนิดอะคีน (achene) รูปร่างแบบไข่กลับหัว มีสีน้ำตาล

หญ้าหัวโม่ง
หญ้าหัวโม่ง ลำต้นทอดเลื้อยไปกับดิน ใบเรียวยาว

การขยายพันธุ์ของหญ้าหัวโม่ง กกดอกขาว

ใช้เมล็ด/ มักจะร่วงไปพร้อมกับช่อดอก พบขึ้นทั่วไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีความชุ่มชื้นหรือในนาข้าว ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นที่ที่มีน้ำขัง แพร่กระจายพันธุ์ด้วยเมล็ด และส่วนของลำต้นใต้ดิน ซึ่งจะเลื้อยแผ่ขยายไป

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าหัวโม่ง กกดอกขาวต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าหัวโม่ง กกดอกขาว

ประโยชน์ : เป็นสมุนไพรแก้บิด ถ่ายเป็นมูก แก้ไข้ ไอ เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ปวดกระดูก

สรรพคุณทางยาของหญ้าหัวโม่ง กกดอกขาว

ทั้งลำต้นและเหง้า ใช้แห้งประมาณ 12-18 กรัม (สดประมาณ 30-60 กรัม) นำมาต้ม หรือคั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคบิด ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้ไข้ ไอ เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ไอกรน ไข้มาลาเรีย ปวดข้อ ปวดกระดูก โรคดีซ่าน ตับอักเสบ อืดแน่นท้อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ หรือใช้ภายนอก นำมาต้มเอาน้ำ หรือตำพอกบริเวณแผลมีหนองบวมอักเสบ แผลเจ็บจากการหกล้ม ผิวหนังเป็นผลผื่นคัน แผลมัดบาด กระดูกหัก และพิษงูกัด เป็นต้น

ดอกหญ้าหัวโม่ง
ดอกหญ้าหัวโม่ง ดอกสีเขียวใส พับงอเข้าหากัน ปลายแหลม

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าหัวโม่ง กกดอกขาว

การแปรรูปของหญ้าหัวโม่ง กกดอกขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11706&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment