หญ้าหางหมาจิ้งจอก
ชื่ออื่นๆ : หญ้าหางหมาจิ้งจอก
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : knotroot foxtail.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Setaria geniculata Beauv.
ชื่อวงศ์ : Poaceae-Gramineae
ลักษณะของหญ้าหางหมาจิ้งจอก
ต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นพืชอายุหลายฤดู ลักษณะเป็นกอหลวมๆ ต้นเล็กตั้งตรง ต้นส่วนล่างของกอโคนต้นจะทอดติดพื้นดิน ความสูงของต้น 80.32-109.78 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 2.21-2.87 มิลลิเมตร ลำต้นแบน เรียบ สีเขียว-ม่วง ส่วนที่รับแสงมีสีม่วงแดงเข้ม
ใบ ใบเป็นแบบรูปใบแคบเรียวยาวไปที่ปลายใบ(linear) ปลายใบแหลม ขนาดใบยาว 33.06-42.94 เซนติเมตร กว้าง 0.61-0.71 เซนติเมตร ผิวใบส่วนที่รับแสงมีสีม่วงแดงเข้ม ใบเรียบค่อนข้างลื่นและหยาบเล็กน้อย โคนใบมีขนขึ้นอยู่ประปราย ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย (serrate) กาบใบสีเขียว-ม่วงและยาว 12.23-15.6 เซนติเมตร ลักษณะกาบใบแบนบีบหุ้มลำต้นยาวเป็นสันค่อนข้างคม มีขนตรงรอยต่อกาบใบและใบเล็กน้อย ลิ้นใบ (ligule )เป็นแผ่นขอบลุ่ยเป็นเส้น (membranous-frayed) ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร
ดอก ดอกออกที่ปลายยอด ช่อดอกรูปทรงกระบอกแบบspikeกลายๆหรือcontracted panicleคล้ายๆกับของหญ้าเนเปียร์ ยาวประมาณ 6.63-8.67 เซนติเมตร แกนช่อดอกสีเขียวมีขนแข็ง ยาว สีเหลืองทองตั้งชันขึ้นตลอดช่อดอก และดอก (floret) สีเขียวอ่อนรูปไข่ ขึ้นอยู่รอบๆแกนช่อดอก อับเรณู (anther) สีน้ำตาล เริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤศจิกายน
การขยายพันธุ์ของหญ้าหางหมาจิ้งจอก
ใช้เมล็ด
การป้องกันและกำจัด
1. เมื่อเริ่มมีฝนหรือจะเริ่มทำนา ควรรอให้หญ้าหางหมาจิ้งจอกงอกขึ้นมาพอสมควรก่อน แล้วจึงทำการไถดะ
2. หลังจากนั้นเว้นช่วงให้มีฝนตก และหญ้าหางหมาจิ้งจอกงอกอีก แล้วจึงไถแปร
3. และหากจะคราดควรจะทิ้งให้หญ้าหางหมาจิ้งจอกงอกมาอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงหว่านข้าวแห้งและคราดกลบ
4.สำหรับนาหยอดหลังข้าวงอกให้กำจัดด้วยการใช้จอบถากก่อนที่ใบข้าวจะเจริญเติบโตยาวปกคลุมผิวดินจนหมดโดยทำ 2 ครั้งคือ ครั้งที่ 1 หลังข้าวงอก 2 สัปดาห์ และครั้งที่ 2 หลังข้าวงอก 4 สัปดาห์
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นในที่แตกต่างกันหลายพื้นที่ มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 73 เมตร พื้นที่ค่อนข้างชื้นแฉะ พื้นที่ค่อนข้างแล้ง ในที่โล่งแจ้ง ใต้ร่มเงาป่าผลัดใบ ดินทราย ดินร่วน-ร่วนปนดินเหนียว เช่นพื้นที่ตำบลหัวเขา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ตำบลปากฉลุย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (SN 142, SN 274 ) พื้นที่สูงอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ (LP 200) พื้นที่ราบป่าเบญจพรรณ บ้านหนองสนม ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร (PC 500)
ธาตุอาหารหลักที่หญ้าหางหมาจิ้งจอกต้องการ
ประโยชน์ของหญ้าหางหมาจิ้งจอก
การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของ โค กระบือ
สรรพคุณทางยาของหญ้าหางหมาจิ้งจอก
คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าหางหมาจิ้งจอก
คุณค่าทางอาหาร อายุ 50วัน มี โปรตีน 8.02เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 29.33 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 11.25 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.37เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท(NFE) 50.02 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วนADF 38.31 เปอร์เซ็นต์ NDF 68.79 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 1.01 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.21 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียม 1.49 เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.09 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 9.72 เปอร์เซ็นต์ มิโมซีน 0.80 เปอร์เซ็นต์ ไนเตรท 72.61 ppm. กรดออกซาลิค 1.91 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไม่พบไนไตรท์
การแปรรูปของหญ้าหางหมาจิ้งจอก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11280&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com