หญ้าเจ้าชู้ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทั้งต้นมีสรรพคุณทางยา

หญ้าเจ้าชู้

ชื่ออื่นๆ : หญ้ากร่อน หญ้าขี้ครอก หญ้านกคุ่ม หญ้าก่อน หญ้ากะเตรย หญ้าขี้เตรย หญ้าน้ำลึก

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysopogon aciculatus (Retz.) Trin.

ชื่อวงศ์ : POACEAE (GRAMINEAE)

ลักษณะของหญ้าเจ้าชู้

ลำต้น: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินได้ไกลๆ ลำต้นเก่ามีกาบแก่หุ้ม ลำต้นตั้งตรงไม่ค่อยแตกแขนง ขึ้นเป็นกอมีลำต้นแผ่กระจายไปตามพื้นดิน

ใบ: มักมีมากที่โคนต้น กาบใบยาว 3-6 เซนติเมตร หุ้มรอบลำต้น มีลายตามยาว บางทีมีสีม่วง มีขนยาวนุ่มประปราย ที่รอยต่อระหว่างก้านใบกับตัวใบ ตัวใบกว้าง 3-5 มิลลิเมตร ยาว 2-8 มิลลิเมตร ใบบนสุดเล็กมาก ขอบใบสาก และหยักห่างๆ ก้านช่อดอกยาวประมาณ50 เซนติเมตร

ดอก: ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายยอด สีม่วงแกมแดง มีดอกมีสีม่วงแดงยาวปลายแหลมช่อดอกเป็นชั้นๆแต่ละชั้นมี ประมาณ5-10ดอกเนื่องจากมีหางดอก(awn)ยาวสามารถที่จะติดกับ ผ้าของผู้คนได้ง่ายจึงเป็นเหตุให้แพร่พันธุ์ไปทั่วและรวดเร็ว

ผล: รูปขอบขนาน

หญ้าเจ้าชู้
หญ้าเจ้าชู้ ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกแขนง ลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดิน
ดอกหญ้าเจ้าชู้
ดอกหญ้าเจ้าชู้ ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายยอด สีม่วงแกมแดง

การขยายพันธุ์ของหญ้าเจ้าชู้

ใช้เมล็ด/การขยาย พันธุ์โดยเมล็ดและการแตกกอหญ้าชนิดนี้พบทั่วไปชอบขึ้นในที่ดินทราย

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าเจ้าชู้ต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าเจ้าชู้

สรรพคุณทางยาของหญ้าเจ้าชู้

ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ:
ราก : แก้ท้องเสีย ,ต้น : เป็นยาขับปัสสาวะ และถอนพิษบางชนิด เถ้าจากต้นกินแก้ปวดข้อ
ต้น : เป็นยาขับปัสสาวะและถอนพิษบางชนิด
ราก :  แก้ท้องเสีย
เถ้า : แก้ปวดข้อ
เมล็ด :  ใช้ขับพยาธิตัวกลม

วิธีทำ/วิธีใช้:
น้ำต้มกิน

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าเจ้าชู้

การแปรรูปของหญ้าเจ้าชู้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11177&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment