หญ้าแดง วัชพืชในนาข้าว นิยมนำมาเป็นอาหารสัตว์

หญ้าแดง

ชื่ออื่นๆ : หญ้ากระดูกไก่,  หญ้าดอกธูป,  หญ้าดอกต่อ, หญ้าเดือย, หญ้าสล้าง

ต้นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปเอเชีย

ชื่อสามัญ : wrinkle duck-beak

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ischaemum rugosum Salisb.

ชื่อวงศ์ : Poaceae

ลักษณะของหญ้าแดง

วัชพืชประเภทใบแคบ อายุปีเดียว ลำต้นแตกแขนงบริเวณโคน แขนงตั้งตรง เป็นกอสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร แตกรากตามข้อบริเวณโคน ใบเดี่ยว แผ่นใบเรียวยาว เป็นรูปหอก ปลายแหลม ลิ้นใบเป็นเยื่อบางรูปสามเหลี่ยมมน กาบใบสีเขียว ปนม่วงแดง ผิวด้านนอกมีขนละเอียด ออกดอกเป็นช่อที่ปลาย แยกเป็น 2 แขนง แต่แนบติดกันจนเหมือนเป็นอันเดียว เมื่อแก่จะแยกออกจากกันเป็น 2 แขนง ช่อดอกประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมากเรียงแน่นบนแกนกลาง ช่อดอกย่อยแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 2 ดอก กลีบรองดอกมีรยางค์ยาว กลีบรองดอกกลีบล่างมีร่องตามขวาง 3-6 ร่อง ผลเป็นผลแห้งมีเมล็ด 1 เมล็ด สีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

หญ้าแดง
หญ้าแดง ลำต้นแตกแขนงบริเวณโคน แขนงตั้งตรง

การขยายพันธุ์ของหญ้าแดง

การแยกกอ

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าแดงต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าแดง

หญ้าแดงเป็นวัชพืชสำคัญในนาข้าว มักพบในนาข้าวที่มีน้ำท่วมขัง หรือตามริมคูน้ำทั่วไป ที่ชื้นแฉะ  นำมาเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยเฉพาะโค และกระบือ

สรรพคุณทางยาของหญ้าแดง

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าแดง

การแปรรูปของหญ้าแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10556&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment