หนวดปลาหมึกด่าง
ชื่ออื่นๆ : หนวดปลาหมึกใบด่าง
ต้นกำเนิด : ประเทศควีนแลนด์ ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera actinophylla
ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE
ลักษณะของหนวดปลาหมึกด่าง
ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านจำนวนมาก ทรงพุ่มกลม
ใบ ใบประกอบรูปฝ่ามือเรียงสลับ มีใบย่อยแตกออกจากก้านใบที่จุดเดียวกัน 5-11 ใบ ใบย่อยรูปไข่กลับกว้าง 4-6 ซม. ยาว 4.5-11 ซม. 1 ช่อใบ ใบด่างขาว เขียว เหลือง ปลายใบมน โคนสอบ ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ท้องใบสีเขียวเข้ม ก้านใบย่อยสีเขียวอ่อน
ดอก ช่อดอกซี่ร่มเชิงประกอบ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีชมพู มีขนาดเล็ก
ผล ผลสด มีเมล็ดเดียว แข็ง สีดำ
การขยายพันธุ์ของหนวดปลาหมึกด่าง
ปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่หนวดปลาหมึกด่างต้องการ
นิยมปลูกในพื้นที่ที่มีแสงปานกลาง เพราะเลี้ยงง่าย ตัดแต่งได้และมีทรงพุ่ม
ประโยชน์ของหนวดปลาหมึกด่าง
ต้นหนวดปลาหมึกด่างเป็นไม้ประดับที่มีใบสวยแปลกตาจึงใช้ในการตกแต่งสวน ปลูกริมถนนหรือริมทางเดิน และใช้เป็นไม้ประดับในอาคารได้ดี มีสีสันสวยงาม และยังเป็นต้นไม้ที่มีความสามารถในการดูดสารพิษและฟอกอากาศได้ดี
สรรพคุณทางยาของหนวดปลาหมึกด่าง
คุณค่าทางโภชนาการของหนวดปลาหมึกด่าง
การแปรรูปของหนวดปลาหมึกด่าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11856&SystemType=BEDO