หนวดฤาษี ไม้อิงอาศัย ทุกส่วนของใบมีขนเส้นเล็กละเอียดสีเทาเงินที่เรียกว่า “ไทรโคม”

หนวดฤาษี

ชื่ออื่นๆ : เคราฤาษี, มอสสเปน

ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาเหนือและใต้

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tillandsia usneoides L.

ชื่อวงศ์ : Bromeliaceae

ลักษณะของหนวดฤาษี

ลำต้น : ไม้อิงอาศัย อายุหลายปีทอดยาวได้ถึง 30 เมตรและยืดยาวเรียวเล็กคล้ายเส้นด้าย

ใบ : ใบบาง รูปแถบ ยาว 2.5 – 5 เซนติเมตร ทุกส่วนมีขนเส้นเล็กละเอียดสีเทาเงินที่เรียกว่า ไทรโคม (trichome) ช่วยสะท้อนแสงและเก็บรักษาความชื้น

ดอก : ดอกสีม่วงขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ มักออกดอกดกในช่วงฤดูหนาว

หนวดฤาษี
หนวดฤาษี ไม้อิงอาศัย ยืดยาวเรียวเล็กคล้ายเส้นด้าย

การขยายพันธุ์ของหนวดฤาษี

แยกกอ  โดยเด็ดลำต้นที่ห้อยระย้า มาแขวนบนกิ่งไม้ หรือคาคบไม้ หรือวัสดุปลูกอย่างอื่น รดน้ำวันเว้นวัน แขวนไว้ในจุดที่มีลมถ่ายเท แสงแดดรำไร เพียงแค่นี้เคราฤาษีจะงอกงาม

ธาตุอาหารหลักที่หนวดฤาษีต้องการ

ควรแขวนในบริเวณที่ได้รับแสงเต็มวัน มีลมพัดผ่าน ให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำเจือจางเดือนละครั้ง จะทำให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง

ประโยชน์ของหนวดฤาษี

ต้นหนวดฤาษี มีไตรโคมสีเงินหรือขนเล็ก สีขาวจำนวนมหาศาลกระจายอยู่ตามใบ ทำหน้าที่ดูดซับธาตุอาหารจากอากาศ จึงสามารถดูดซับความชื้นที่ปนเปื้อนฝุ่น ปนเปื้อนสารเคมีในอากาศได้ดีกว่าใช้ผ้าม่าน หรือผ้าพลาสติก แถมยังกลายเป็นม่านป้องกันความร้อนจากแสงแดดได้ ปลูกเป็นไม้ประดับ

ใบหนวดฤาษี
ใบหนวดฤาษี ใบบาง ทุกส่วนมีขนเส้นเล็กละเอียดสีเทาเงิน

สรรพคุณทางยาของหนวดฤาษี

คุณค่าทางโภชนาการของหนวดฤาษี

การแปรรูปของหนวดฤาษี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11895&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment