หนอนตายหยาก พืชล้มลุก ใบรูปหัวใจ คล้ายใบพลู

หนอนตายหยาก

ชื่ออื่นๆ : หนอนตายหยากเล็ก, กะเพียดหนู, โป่งมดง่าม, สลอดเชียงคำ (อีสานโบราณ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หนอนตายหยาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stemona tuberosa Lour.

ชื่อวงศ์ : Stemonaceae

ลักษณะของหนอนตายหยาก

ต้น พืชล้มลุกอายุหลายปี ลำต้น ตั้งตรง สูง 20-40 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ราก แบบรากกลุ่มอยู่กันเป็นพวง คล้ายนิ้วมือ สีเหลืองอ่อน อวบน้ำ มีรากใต้ดินจำนวนมาก รากยาวได้ถึง 10-30 เซนติเมตร

ใบ ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ รูปหัวใจ ยาว 9-15 เซนติเมตร กว้าง 6-10 เซนติเมตรปลายใบแหลม โคนใบ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ผิวใบ เกลี้ยงทั้งด้านบนและล่าง เส้นใบมี 10-15 เส้น ขนานกัน ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นใบย่อยมาตัดขวาง ก้านใบ ยาว 5-9 เซนติเมตร ส่วนโคนพองเป็นกระเปาะ

ดอก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ใบประดับ รูปขอบขนาน ปลายมน ยาว 1.1-1.2 เซนติเมตร กว้าง 0.25-0.3 เซนติเมตร ก้านดอกย่อย ยาว 2-3 เซนติเมตร กลีบรวม มี 4 กลีบ สีเหลืองแกมชมพู ขนาดไม่เท่ากันเรียง 2 ชั้น ชั้นนอกมี 2 อัน รูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาว 1.9-2 เซนติเมตร กว้าง 0.4-0.5 เซนติเมตร มีเส้นแขนง 9-11 เส้น ชั้นในมี 2 อัน รูปไข่ ปลายแหลม ยาว 1.8-1.9 เซนติเมตร กว้าง 0.6-0.7 ซม. มีเส้นแขนง 13-15 เส้น เกสรเพศผู้ มี 4 อัน ขนาดเท่ากัน รูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ ยาว 1.5-1.6 เซนติเมตร กว้าง 0.2-0.3 เซนติเมตร เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ รูปไข่ ยาว 0.3-0.4 เซนติเมตร ปลายเกสรเพศเมีย ขนาดเล็ก

ผล ผลค่อนข้างแข็งสีน้ำตาลขนาดเล็ก

ต้นหนอนตายยาก
ต้นหนอนตายยาก ใบรูปหัวใจ คล้ายใบพลู ก้านใบยาว

การขยายพันธุ์ของหนอนตายหยาก

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ขยายพันธ์ุด้วยผลและเหง้า
พบตามป่าดิบแล้ง เมื่อถึงฤดูแล้ง ต้นเหนือดินจะโทรมหมด เหลือแต่รากใต้ดิน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนใหม่ ใบจึงจะงอกออกมาพร้อมทั้งออกดอก

ธาตุอาหารหลักที่หนอนตายหยากต้องการ

ประโยชน์ของหนอนตายหยาก

  • ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด นำรากผสมกับหญ้าหวายนาและชะอม ต้มน้ำดื่ม ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด คั้นน้ำพอก แก้หิดเหา
  • ตำรายาไทย ใช้ ราก รสเมาเบื่อ ปรุงยารับประทาน แก้โรคผิวหนังผื่นคันน้ำเหลืองเสีย รมหัวริดสีดวงให้ฝ่อแห้งไป พอกทาแก้โรคผิวหนัง ฆ่าหิดเหา ฆ่าเชื้อพยาธิภายใน มะเร็งตับ ตำผสมน้ำฆ่าแมลง หนอนศัตรูพืช ทุบละเอียดแช่น้ำฟอกล้างผม ฆ่าเหา พอกแผลต่างๆ ฆ่าหนอน ใส่ปากไหปลาร้าฆ่าหนอน และใช้ทำลายหิดได้ นำรากมาโขลกบีบเอาน้ำหยอดแผลวัวควายซึ่งมีหนอนไช หนอนจะตายหมด
รากหนอนตายยาก
รากหนอนตายยาก อยู่กันเป็นพวง คล้ายนิ้วมือ สีเหลืองอ่อน อวบน้ำ

สรรพคุณทางยาของหนอนตายหยาก

องค์ประกอบทางเคมี
รากพบแอลคาลอยด์ stemonine, tuberostemonine, stemonidine, isostemonidine สารอื่นที่พบ เช่น rotenoid compound, stemonacetal, stemonal, stemonone

คุณค่าทางโภชนาการของหนอนตายหยาก

การแปรรูปของหนอนตายหยาก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12216&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment