หนามหัน
ชื่ออื่นๆ : หนามเฮื้อง(ลำพูน) หันกระด้าง(ลำปาง) หนามตะหนิน(นครราชสีมา)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Senegalia comosa
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia comosa Gagnep.
ชื่อวงศ์ : MIMOSACEAE
ลักษณะของหนามหัน
ต้น ไม้เถารอเลื้อย สูงได้ถึง 10 เมตร เปลือกต้นมีหนามแหลมปลายโค้งลง ยาว ประมาณ 0.5-2.2 มิลลิเมตร
ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ หูใบรูปเส้นด้าย ร่วงง่าย ใบย่อย เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 4-12 มิลลิเมตร ปลายแหลม หรือมน โคนเบี้ยว ขอบเรียบ
ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุก แยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยขนาดประมาณ 12-15 มิลลิเมตร ไม่มีก้านดอกย่อย ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก สีเขียวแกมขาว กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว หรือสีเขียวแกมขาว เชื่อมติดกันที่โคนเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 10 อัน แยกอิสระ ก้านชูอับเรณูรูปเส้นด้าย สีขาว ยาว 4-5 มิลลิเมตร อับเรณูสีเหลือง รังไข่เหนือวงกลีบ มีขนเล็กน้อย
ผล ผลเป็นฝักแบน กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร เมล็ดแบน กว้าง 3.5-5 มิลลิเมตร ยาว 5-7 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์ของหนามหัน
ใช้เมล็ด/การขยายพันธ์ด้วยเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หนามหันต้องการ
ประโยชน์ของหนามหัน
การใช้ประโยชน์ ใช้เบื่อปลา เปลือก แช่น้ำ มีฤทธิ์เบื่อเมาใช้เบือปลา
สรรพคุณทางยาของหนามหัน
ราก เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร
คุณค่าทางโภชนาการของหนามหัน
การแปรรูปของหนามหัน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10748&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com