หนามแท่ง ลูกเคล็ด ไม้พุ่มขนาดย่อม ผลใช้เป็นยาสระผม ซักผ้าได้ – ต้นยาสระผม

หนามแท่ง

ชื่ออื่นๆ : เคด, กะแทง (กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ) หนามเค็ด (จันทบุรี) เคล็ด (กลาง) เคล็ดทุ่ง (ใต้) แท้ง (เหนือ นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์), หนามแท่ง (เหนือ ราชบุรี นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์) ตะเคล็ด, ระเวียง, มะเค็ด

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ระเวียง หนามแท่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catunaregam tomentosa (Blume ex DC.)Triveng

ชื่อวงศ์ : Rubiaceae

ลักษณะของหนามแท่ง

ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมลำต้นกิ่งก้าน เป็นทรงกระบอกแตกกิ่งเกือบจะขนานกับพื้นตาม กิ่งก้านของต้นจะมีหนามแหลมยาว
ซึ่งยาวประมาณ 3-6 ซม. ออกเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน เมื่อต้นสูงได้ประมาณ 2 เมตร ลำต้นจะบิดงอ ยอดรูปปลายตัด

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กว้าง หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ฐานใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนหนานุ่ม ด้านบนมีสีเข้มกว่าด้านล่าง ผิวใบด้านล่างมีขนสีเทานวล หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ เป็นรูปสามเหลี่ยม กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร

ดอก ดอกเดี่ยว หรือออกที่กระจุก ออกที่ซอกใบ มี 2-6 ดอก กลีบดอกสีขาว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มี 5 กลีบ กลิ่นหอม เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เกสรเพศผู้มี 8 อัน ติดระหว่างแฉกกลีบดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 8-9 แฉก เกสรเพศเมีย มีรังไข่ใต้วงกลีบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยก มี 5 กลีบ สีเขียวอ่อน

ผล ผลสดรูปไข่ ค่อนข้างกลม มีขนเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาลปกคลุม นุ่ม เมื่อแห้งแล้ว ไม่แตก พบตามป่าเต็งรัง หรือทุ่งหญ้า พื้นที่โล่ง ออกดอกราวเดือนเมษายนถึงกันยายน

ต้นหนามแท่ง ต้นเค็ด
ต้นหนามแท่ง เปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านมีหนามแข็ง แหลมยาว

การขยายพันธุ์ของหนามแท่ง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หนามแท่งต้องการ

ประโยชน์ของหนามแท่ง

  • ผลแก่นำมาทุบพอแหลกใช้ตีกับน้ำ ใช้ซักผ้า ทำความสะอาดร่างกาย และสระผมได้
  • น้ำจากการแช่ผลหนามแท่งยังใช้เบื่อปลาได้ด้วย
  • คนอีสานนิยมนำกิ่งมาทำสาก (ไม้ตีพริก) เชื่อว่าช่วยดูดสารพิษจากอาหารได้
ผลหนามแท่ง ผลหนามแท่ง ผลลูกเค็ด
ผลหนามแท่ง ผลกลม มีขนเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาลปกคลุม

สรรพคุณทางยาของหนามแท่ง

  • ตำรายาไทย ใช้ทั้งต้น รสเฝื่อนเล็กน้อย ปรุงยารักษาโรคเบาหวาน แก้โรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งในกระดูก แก้วัณโรค
  • ประเทศแถบอินโดจีน ใช้ ใบ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ
ดอกหนามแท่ง
ดอกหนามแท่ง กลีบดอกสีขาว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของหนามแท่ง

การแปรรูปของหนามแท่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12220&SystemType=BEDO
www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment