รางจืด
ชื่ออื่นๆ : หนามแน่, ย้ำแย้, ยาเยียว, ดุเหว่า, ตานี, ซั้งกะ, เครือเถาเขียว, คาย, ปัง, กะล่ะ, ขอบชะนาง
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันนอกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thumbergia Laurifolia Linn.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะรางจืด
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยลำต้นหรือเถามีเนื้อแข็ง เถามีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม เลื้อยพาดไปตามกำแพงรั้ว แล้วจะทิ้งตัวห้อยเป็นระย้าลงสู่เบื้องล่าง
ใบ รางจืดเป็นไม้ใบเดี่ยว ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่เรียวยาว ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ หรืออาจจะเป็นหยักเล็กน้อย ใบเกลี้ยงไม่ มีขน และใบที่อยู่ล่าง ๆ ก็มักจะใหญ่กว่าใบที่อยู่ถัดขึ้นไป
ดอก ออกดอกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ หรือตามข้อของลำต้น ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 3-4 ดอก มีใบประดับสีขาวประด้วยสีแดงหุ้มดอกอยู่ มีกลีบดอกขนาดใหญ่ 5 กลีบ เป็นรูปฐาน ส่วน ดอกเป็นรูปแตร ดอกมีสีม่วงอ่อน สีฟ้า หรือสีขาว ภายในดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน

การขยายพันธุ์ของรางจืด
การใช้กิ่ง,ลำต้น
ปลูกโดยให้นำเอากิ่งที่ได้จากการปักชำ การตอน หรือต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด มาปลูกลงดินโดยให้ขุดหลุมปลูกมีความกว้างลึกประมาณ 1×1 ฟุต แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักประมาณ 1/4 ของหลุม กลบดินเล็กน้อย วางกิ่งปลูกหรือต้นกล้าลงกลางหลุม แล้วกลบดินให้แน่น รดน้ำตามให้ชุ่มควรปลูกริมรั้วหรือกำแพง เพื่อให้เถารางจืดสามารถยึดเกาะและเลื้อยพาดไปได้
ธาตุอาหารหลักรางจืดต้องการ
–
ประโยชน์ของรางจืด
- ใบใช้ถอนพิษไข้ เป็นยาพอกแผลพอกแผลน้ำร้อนลวก
- เป็นยาถอนพิษทั้งทานและใช้ภายนอก

สรรพคุณทางยาของรางจืด
- รากและใบ รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ
- ใบและรากใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ ยาพอกบาดแผล ใช้สำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลงเข้าไปเป็นการบรรเทาอาการก่อนถึงโรงพยาบาล แก้พิษแอลกอฮอล์ บรรเทาอาการเมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่าจอลอดี่เดอตัดลำต้นเป็นชิ้นเล็กพกติดตัว เชื่อว่าป้องกันงูได้
คุณค่าทางโภชนาการของรางจืด
–
การแปรรูปของรางจืด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspxid=9580&SystemType=BEDOhttps:
www.th.wikipedia.org
www.flickr.com
4 Comments