หน่อไม้ไผ่
ชื่ออื่นๆ : ไผ่ตง ช้ง(ม้ง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : BAMBOOSACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrocalamus asper Backer
ชื่อวงศ์ : Gramineae
ลักษณะของหน่อไม้ไผ่
หน่อไม้เป็นหน่อของต้นไผ่ซึ่งอยู่รวมกันเป็นกอโตขึ้นเป็นลำต้นแข็งแรงลำต้นส่วนใหญ่ของต้นไผ่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ส่วนที่พ้นจากดินจะมีลำต้นตรงมีข้อปล้องผิวแข็ง เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกาบหุ้มและจะหลุดร่วงไปเมื่อลำต้นเจริญเต็มที่ แต่ไผ่บางชนิดที่กาบหุ้ม ลำต้นไม้ร่วง เช่น ไผ่รวก ไม้ไผ่เป็นพืชในเขตร้อน มีจำนวนน้อยที่ขึ้นในเขตอบอุ่น ไผ่เป็นพืชจำพวกออกดอกผลแล้วจะหมดอายุ ต้นก็จะตายไปเมื่อเวลา แล้งจัดๆ มักจะตาย จะออกดอกผลเป็นเมล็ด เรียกว่า ขุยไผ่ และไผ่กอนี้เรียกว่า ไผ่ตาย ขุยไผ่ใช้บริโภคได้เช่นเดียวกับเมล็ดข้าว
ความสัมพันธ์กับชุมชน หน่อไม้ไผ่ตง เป็นที่นิยมบริโภคมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี เนื่องจากมีเนื้อมาก รสชาติอร่อย และสามารถนำส่วนสำคัญต่างๆ ของไผ่ตงมาทำประโยชน์อย่างอื่น เช่น สร้างที่พักอาศัย เครื่องมือเครื่องใช้ ได้สารพัด
การขยายพันธุ์ของหน่อไม้ไผ่
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ขยายพันธ์โดยเหง้า
ธาตุอาหารหลักที่หน่อไม้ไผ่ต้องการ
ประโยชน์ของหน่อไม้ไผ่
รากของไผ่ตง สามารถนำมาใช้ทำยารักษากามโรค เช่น ซิฟิลิส หนองใน เอารากมาล้างน้ำต้มกินแก้หวัดได้ หน่อไม้บางชนิดมีรสขม และบางชนิดขนอ่อน ปกคลุม อาจเกิดอาการคันและเป็นพิษได้เมื่อถูกต้อง ก่อนรับประทานควรต้มกับน้ำนานๆ หลายครั้ง หรือเผาไฟ เพื่อทำลายพิษของขนให้หมดไป เมล็ดหรือขุยไผ่อาจนำมาหุงต้มรับประทานได้ เช่นเดียวกับเมล็ดข้าว
หน่ออ่อน นำไปประกอบอาหาร
ลำต้น นำไปจักรสาน ฯลฯ
ใบ นำไปห่อขนมซังได้
สรรพคุณทางยาของหน่อไม้ไผ่
–
คุณค่าทางโภชนาการของหน่อไม้ไผ่
การแปรรูปของหน่อไม้ไผ่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11022&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
7 Comments