หมักเขียบ น้อยแน่ มะนอแน่ ผลเนื้อสีขาว มีเมล็ดสีดำ

หมักเขียบ น้อยแน่ มะนอแน่

ชื่ออื่นๆ : บักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ลาหนัง (ปัตตานี) มะนอแน่, มะแน่ (เหนือ) หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) มะออจ้า, มะโอจ่า (เงี้ยว-เหนือ) เตียบ (เขมร)

ต้นกำเนิด : พบอยู่ทั่วไปในเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Sugar Apple, Custard Apple, Sweet Sap

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa L.

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ลักษณะของหมักเขียบ น้อยแน่ มะนอแน่

ต้น ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น ขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 3 – 5 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาลเข้ม แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นก้านเล็กๆ สีน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปรี ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. ก้านใบสั้น แผ่นใบบางสีเขียวเข้ม ท้องใบหรือใต้ใบสีเขียวอ่อน

ดอก ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ มีเกสรตัวผู้และรังไข่ จำนวนมาก

ผล เปลือกผลเป็นปุ่มนูน สีเขียว เมื่อสุกภายในมีเนื้อนุ่มสีขาว รสหวานและมีกลิ่นหอม ห่อหุ้มเมล็ดแข็งรูปรีสีดำจำนวนมาก ให้ผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

น้อยหน่า
น้อยหน่า เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาลเข้ม
ผลน้อยหน่า
ผลน้อยหน่า เปลือกผลเป็นปุ่มนูน สีเขียว

การขยายพันธุ์ของหมักเขียบ น้อยแน่ มะนอแน่

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หมักเขียบ น้อยแน่ มะนอแน่ต้องการ

ประโยชน์ของหมักเขียบ น้อยแน่ มะนอแน่

  • ผลไม้ รสหวานและมีกลิ่นหอม
  • ประโยชน์ : ตำรายาไทยใช้ใบสดและเมล็ดฆ่าเหา โดยใช้เมล็ดประมาณ 10 เมล็ด หรือใบสดประมาณ 1 กำมือ (15 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวพอแฉะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะ ใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณ 10 นาทีถึงครึ่งชั่วโมง ใช้หวีสางเหาออก สระผมให้สะอาด (ระวังอย่าให้เข้าตา เพราะจะทำให้ตาอักเสบและแสบได้) มีรายงานยืนยันว่าน้ำยาที่คั้นจากเมล็ดบดกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน 1: 2 สามารถฆ่าเหาได้ดีที่สุด คือฆ่าได้ถึง 98 % ใน 2 ชั่วโมง ใช้รักษาหิด กลากและเกลื้อนด้วย
เนื้อผลน้อยหน่า
เนื้อผลน้อยหน่า เนื้อนุ่มสีขาว รสหวานและมีกลิ่นหอม

สรรพคุณทางยาของหมักเขียบ น้อยแน่ มะนอแน่

  • ใบสดและเมล็ดน้อยหน่าสามารถใช้ฆ่าเหาและโรคกลากเกลื้อนโดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย เป็นเหา ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ
    1. นำใบน้อยหน่าประมาณ 3-4 ใบมาบดหรือตำให้ ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาทีและเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที
    2. นำใบน้อยหน่า 7-8 ใบ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำทาหัวทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออก ซึ่งจะช่วยทำให้ไข่ฝ่อ และฆ่าเหาได้ และ แก้ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหา แก้หิด แก้กลากเกลื้อน และแก้ฟกบวม
  • ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียนและแก้พิษงูถอนพิษเบื่อเมา
  • เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน
  • ผล ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
  • ใบน้อยหน่ามีสารแอลคาลอยด์ แอนโนเนอีน (anonaine) และเรซิน (resin) ในเมล็ดมีน้ำมันอยู 45% ซึ่งเป็นพิษกับด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็ง สารสกัดเมทานอลของใบน้อยหน่าเป็นพิษต่อไรทะเล และใบน้อยหน่ายังเป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อนถั่วโดยมี LC50 2,089.30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร

คุณค่าทางโภชนาการของหมักเขียบ น้อยแน่ มะนอแน่

การแปรรูปของหมักเขียบ น้อยแน่ มะนอแน่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11735&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment