หมากกอก
ชื่ออื่นๆ : มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง บะกอก (เหนือ) กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : มะกอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spondias cytherea Sonn
ชื่อวงศ์ : Anacardiaceae
ลักษณะของหมากกอก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงถึง 25 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเลี้ยงไม่มีขน เปลือกเรียบสีเทาแตกเป็นร่องเล็กน้อย ใบประกอบ มีใบย่อย 3 – 5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ลักษณะ
ใบรูปขอบขนาน หรือรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือเบี้ยว ดอกออกเป็นช่อสีขาวตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีขนาดเล็ก มี 5 กลีบเกสรมีตัวเมียแยกเป็นสี่แฉก ผลสดมีเนื้อ ลักษณะรูปไข่หรือรูปรี เมื่อสุกมีผลสีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของหมากกอก
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หมากกอกต้องการ
ประโยชน์ของหมากกอก
ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ ผลสุกใช้ประกอบอาหาร รากทำให้ชุ่มคอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องร่วง เปลือกต้นแก้กระหายน้ำแก้ร้อนใน ผลแก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ทำให้ชุ่มคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน เปลือกต้นนำมาทำสีย้อมผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมให้สีเขียว

สรรพคุณทางยาของหมากกอก
ผลรสเปรี้ยวหวานเย็น แก้เลือดออกตามไรฟัน และต้านอนุมูลอิสระ ( วิตามินสูง )แก้ธาตุพิการ แก้บิด แก้ดีพิการ ทำให้ชุมคอ แก้กระหาย ผล เปลือก ใบ เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงสายตา แก้กระหายน้ำทำให้ชุมคอ และเลือดออกตามไรฟัน แก้ร้อนใน หอบ และสะอึก ใช้เมล็ดแห้ 2 – 3 ลูก เผาไฟให้เป็นถ่าน แล้วนำไปแช่น้ำ กรองเอาน้ำดื่ม หรืออาจใช้ผสมยามหานิล ก็ได้
คุณค่าทางโภชนาการของหมากกอก
การแปรรูปของหมากกอก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10215&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com