หมากผู้หมากเมีย หางหงส์ ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคล

หมากผู้หมากเมีย หางหงส์

ชื่ออื่นๆ : หมากผู้หมากเมีย หางหงส์

ต้นกำเนิด : เขตร้อนทั่วไป เช่น อินเดีย ไทย มาเลเซีย

ชื่อสามัญ : Cordyline, Ti plant, Dracaena Palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordyline fruticosa (L.) A.Chev. ‘Hanghong’

ชื่อวงศ์ : ASPARAGACEAE

ลักษณะของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์

ไม้พุ่มขนาดกลาง อายุหลายปี ลำต้นรูปทรงกระบอกยาว แตกเป็นกอ มีเนื้อไม้เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น สูงประมาณ 46 เซนติเมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียนสม่ำเสมอ ใบตั้งขึ้น ปลายโค้งลงเล็กน้อย รูปแถบหรือรูปใบหอกแคบ ปลายเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบค่อนข้างหนา เรียบ เกลี้ยง เป็นมัน ยาว 18-20 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร ก้านใบเป็นกาบ มีร่อง สีแดงอมม่วง ยาว 6-7 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร บริเวณโคนก้านใบห่อหุ้มลำต้น ขอบใบสีชมพูบานเย็น แผ่นใบสีเขียว เส้นกลางใบและเส้นใบสีชมพูบานเย็น ใบอ่อนสีชมพูอ่อนปนเขียว ดอกออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด ออกดอกบริเวณปลายยอด ดอกสีชมพูหรือดอกสีม่วง ขนาดเล็ก

หมากผู้หมากเมีย หางหงส์
หมากผู้หมากเมีย หางหงส์ ปลายเรียวแหลม สีบานเย็นชมพู

การขยายพันธุ์ของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำลำ แยกเหง้า

ธาตุอาหารหลักที่หมากผู้หมากเมีย หางหงส์ต้องการ

ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปริมาณมาก แสงแดดปานกลางถึงรำไร

ประโยชน์ของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์

ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคล นิยมปลูกทั้งในสวนและไม้กระถาง

สรรพคุณทางยาของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์

คุณค่าทางโภชนาการของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์

การแปรรูปของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9640&SystemType=BEDO

หมากผู้หมากเมีย หางหงส์ Cordyline fruticosa (L.) A.Chev. ‘Hanghong’

Add a Comment