หมากผู้หมากเมีย
ชื่ออื่นๆ : มะผู้มะเมีย, หมากผู้หมากเมีย, หมากผู้
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Ti long Plant Tree of Kings
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordyline fruticosa (L.) Goeppert
ชื่อวงศ์ : Agavaceae
ลักษณะของหมากผู้หมากเมีย
ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรงมีขนาดเล็กกลม มีข้อถี่ ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับแตกออกตามข้อของลำต้นซ้อนกันถี่ ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-10 เซนติเมตร ยาว 20-50 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบใบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นลอนคลื่นเล็กน้อยและมีสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ เช่นสีเขียวล้วน แดงล้วน เขียวแถบเหลือง หรือเขียวแถบแดง ดอกสีขาวอมเหลืองหรือม่วงแดง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงจากส่วนยอดของลำต้น ช่อละ 5-10 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ผลสดแบบมีเนื้อ ทรงกลม มีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร ผลสุกสีแดง มีหลายเมล็ด
การขยายพันธุ์ของหมากผู้หมากเมีย
การปักชำต้น
ธาตุอาหารหลักที่หมากผู้หมากเมียต้องการ
ประโยชน์ของหมากผู้หมากเมีย
ช่อดอก – ลวกกินกับน้ำพริก หรือนำไปแกง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
สรรพคุณทางยาของหมากผู้หมากเมีย
ใบ – ใช้ห้ามเลือด แก้บวม อักเสบ ริดสีดวงทวาร ประจำเดือน ไม่ปกติ แก้พิษกาฬ ไข้หัว คันตามผิวหนัง
คุณค่าทางโภชนาการของหมากผู้หมากเมีย
การแปรรูปของหมากผู้หมากเมีย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9867&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com