หมากเขือขืน ผลทั้งดิบและสุก มีรสเปรี้ยว

หมากเขือขืน (ภาคอีสาน) มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ) หมักอึก หมากอึก (ภาคอีสาน)

ชื่ออื่นๆ : มะเขือปู่ มะปู่ มะเขือขน หมากขน (ภาคเหนือ), หมากอึก หมักอึก บักเอิก (ภาคอีสาน), อึก ลูกอึก (ภาคใต้), มะอึก (ภาคกลาง), ยั่งคุยดี (กะเหรี่ยง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : มะอึก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum stramonifolium Jacq.

ชื่อวงศ์ : Solanaceae

ลักษณะของหมากเขือขืน (ภาคอีสาน) มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ) หมักอึก หมากอึก (ภาคอีสาน)

ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ทุกส่วนมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่กว้าง กว้าง 15-25 ซม. ยาว 20-30 ซม. โคนใบเว้าหรือตัด ขอบใบหยักเว้าเป็นพู แผ่นใบสีเขียว มีขนทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง เป็นเส้นรวมเป็นยอดแหลม ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.8-2 ซม. ผิวมีขนยาวหนาแน่น ผลสุกสีเหลืองแกมน้ำตาล เมล็ดแบน มีจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ผล ราก ผล

ผลมะอึก
หมากเขือขืน ผลกลมมีขนอ่อนปกคลุมอยู่โดยรอบ ผลอ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีเหลืองอมส้ม

การขยายพันธุ์ของหมากเขือขืน (ภาคอีสาน) มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ) หมักอึก หมากอึก (ภาคอีสาน)

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่หมากเขือขืน (ภาคอีสาน) มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ) หมักอึก หมากอึก (ภาคอีสาน)ต้องการ

ประโยชน์ของหมากเขือขืน (ภาคอีสาน) มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ) หมักอึก หมากอึก (ภาคอีสาน)

ผลทั้งดิบและสุก มีรสเปรี้ยว ใส่ในน้ำพริก ใช้ปรุงแกงที่ออกรสเปรี้ยวเช่น แกงคั่วส้ม แกงคั่ว แกงหมูตะพาบน้ำ โดยต้องขูดขนออกก่อนนำไปทำอาหาร แล้วหั่นเป็นแว่น ชาวม้งนำผลไปใส่น้ำพริก ทางจังหวัดจันทบุรีนิยมนำมายำ ทางภาคเหนือและภาคอีสานนำมาทำส้มตำ ใส่แกงส้ม ทางภาคใต้ใส่ในแกงเนื้อและปลาย่าง

สรรพคุณทางยาของหมากเขือขืน (ภาคอีสาน) มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ) หมักอึก หมากอึก (ภาคอีสาน)

ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ผล ราก ผล

สรรพคุณ : แก้ปวดฟัน

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใช้เมล็ด – เผาสูดดมควันเข้าไป แก้ปวดฟัน
ราก – รสเปรี้ยว เย็นน้อย แก้ดีฝ่อ ดีกระตุก คือ นอนสะดุ้งผวา หลับๆ ตื่นๆ แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดฟอกเสมหะ กระทุ้งพิษ ดับพิษร้อนภายใน

คุณค่าทางโภชนาการของหมากเขือขืน (ภาคอีสาน) มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ) หมักอึก หมากอึก (ภาคอีสาน)

การแปรรูปของหมากเขือขืน (ภาคอีสาน) มะเขือปู่ มะปู่ (ภาคเหนือ) หมักอึก หมากอึก (ภาคอีสาน)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11634&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment