หมากเม่า
ชื่ออื่นๆ : หมากเม้า บ่าเหม้า หมากเม่า มะเม่า ต้นเม่า เม่า เม่าเสี้ยน หมากเม่าหลวง มะเม่าหลวง มัดเซ
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma puncticulatum Miq.
ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE
ลักษณะของหมากเม่า
มะเม่า เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากในป่าโปร่งจัดเป็นไม้ผลขนาดกลาง ลักษณะของผลมะเม่า จะออกผลเป็นพวงเหมือนพริกไทยอ่อน เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว และเมื่อผลสุกก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดงถึงม่วง ฤดูกาลที่ออกผลได้ดีคือ ช่วงต้นเดือนกันยายน ถึงปลายเดือนตุลาคม
มะเม่า มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นที่พบแตกต่างกันออกไปนะคะ เช่น เม่า, หมากเม่า หรือมะเม่าสุกมีความเหมาะสมในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลายชนิด ได้แก่ น้ำผลไม้พร้อมดื่ม น้ำผลไม้เข้มข้น แยมและไวน์แดง โดยเฉพาะไวน์แดงที่ได้จากผลมะเม่านั้นจะมีรสชาติที่ดีเยี่ยม คือจะมีน้ำไวน์สีแดงสดใส และมีรสชาติดี นอกจากนั้นยังสามารถนำมาพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจได้อีกด้วย

การขยายพันธุ์ของหมากเม่า
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หมากเม่าต้องการ
ประโยชน์ของหมากเม่า
1. ผลดิบสีเขียวอ่อน ประกอบอาหารคล้ายส้มตำเม่า
2. ผลแก่สีแดงมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่จัดสีดำม่วง จะมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้สด
สรรพคุณทางยาของหมากเม่า
ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบายและบำรุงสายตา ใบสดนำมาอังไฟเพื่อใช้ประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว เปลือกต้นเม่าใช้เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ
กัมมาลและคณะ (2546) ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียของสมุนไพรไทย 5 ชนิด คือ มะเม่า ฟ้าทลายโจร หญ้าแห้วหมู ผักเป็ดแดง และสายน้ำผึ้ง พบว่า มะเม่า สายน้ำผึ้ง และหญ้าแห้วหมู มีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ได้
คุณค่าทางโภชนาการของหมากเม่า
ผลหมากเม่าสุก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด แคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามิน B1 B2 C และ E
การแปรรูปของหมากเม่า
1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น น้ำผลไม้ ไวน์เม่า แยม กวน สีธรรมชาติผสมอาหาร ฯล
2. น้ำเม่าสกัดเข้มข้น 100% มีสารอาหาร วิตามินหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายรวมทั้ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ
3. ไวน์หมากเม่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9793&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com