หมากแดง ปลูกเป็นไม้ประดับ ผิวลำต้นเรียบ มีข้อปล้องชัดเจน กาบใบสีแดงสด

หมากแดง

ชื่ออื่นๆ : กับแดง, กะแด็ง, หมากวิง

ต้นกำเนิด : ภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย

ชื่อสามัญ : Sealing-wax palm, Lipstick palm, Raja palm, Maharajah palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyrtostachys renda Blume

ชื่อวงศ์ : Palmae

ลักษณะของหมากแดง

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่  ปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 10-15 เซนติเมตร มีคอยาว 30-50 เซนติเมตร ผิวลำต้นเรียบ มีข้อปล้องชัดเจน

ใบ (Foliage) : ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 45-55 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบด้านบนสีเขียวแก่ ด้านล่างสีเขียวอ่อนมีสีเหลือบเงิน เล็กน้อย เป็นมันก้านใบและกาบใบสีแดงสด

ดอก (Flower) : สีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาว ประมาณ 50 เซนติเมตร

ผล (Fruit) : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกลมรี ขนาด 0.8 เซนติเมตร ผลแก่สีดำเมล็ดกลมรี ทรงพุ่มสวย เหมาะที่จะปลูกเป็นจุดเด่นริมศาลา ด้านหน้าของอาคารที่ได้รับแสงแดดตอนเช้า ปลูกริมทะเลได้ ทนน้ำท่วมขังได้

ต้นหมากแดง
ต้นหมากแดง ปลายใบแหลม กาบใบสีแดงสด
ผลหมากแดง
ผลหมากแดง ทรงกลมรี ผลอ่อนสีเขียว

การขยายพันธุ์ของหมากแดง

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ การเจริญเติบค่อยข้าช้า

ธาตุอาหารหลักที่หมากแดงต้องการ

ประโยชน์ของหมากแดง

  • ใช้เป็นไม้ประดับ ปลูกตามบ้านเรือน อาคาร สำนักงาน
  • ผลสุกรับประทานได้ มีวิตามินซีสูง

สรรพคุณทางยาของหมากแดง

  • ใบ แก้ร้อนใน
  • ราก เป็นยาขมเจริญอาหาร
  • ใบสด แก้เจ็บคอ
  • ผลสุก แก้โรคลักปิดลักเปิด
  • ใบ แก้ท้องร่วง เจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ปวดหู
  • ราก เป็นยาขม บำรุงธาตุ ขับพยาธิ เป็นยาธาตุ เจริญอาหาร แก้คัน เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ใช้ใส่แผลพอก

คุณค่าทางโภชนาการของหมากแดง

การแปรรูปของหมากแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11130&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment