หมาก หมากสง นิยมนำมาเคี้ยวกับหมากใบและใบพลู

หมาก

ชื่ออื่นๆ : หมากสง, ปีแน (มลายูท้องถิ่น-ยะลา)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Betelnaut

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catechu

ชื่อวงศ์ : Palmae

ลักษณะของหมาก

ต้น เป็นปาล์มต้นเดี่ยวขนาดกลาง ลำต้นสูง 10-20 เมตร มีข้อปล้องชัดเจน เปลือกไม้ค่อนข้างขรุขระ สีน้ำตาลอมเทา

ใบ ใบประกอบแบบขนนก กาบใบ ยาว 60-80 เซนติเมตร แผ่นใบย่อยเรียบ ใบรูปขอบขนาน ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ใบกว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 30-60 เซนติเมตร เส้นใบแตกแบบขนาน เส้นกลางใบเห็นชัดเจน

ดอก ออกเป็นช่อบริเวณใต้คอยอด ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน มีกลิ่นหอม ช่อดอกยาว 30-40 เซนติเมตร

ผล เป็นช่อมี 5-30 ผลต่อช่อ ผลเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร เปลือกผลเป็นเส้นใย ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่มีสีส้ม หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด เมล็ดกลมรีใหญ่แข็ง สีน้ำตาลลายขาว

ต้นหมาก
ต้นหมาก ปาล์มต้นเดี่ยว มีข้อปล้องชัดเจน
ใบหมาก
ใบหมาก ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน

การขยายพันธุ์ของหมาก

การใช้เมล็ด โดยนำเมล็ดมาเพาะ หรือ นำมาฝังดิน

ธาตุอาหารหลักที่หมากต้องการ

ประโยชน์ของหมาก

  • แกนยอดอ่อน นำมาเป็นผักลวก
  • เมล็ดอ่อน สดหรือหั่นตากแห้ง กินกับพลูและปูนเป็นของขบเขี้ยวคนเฒ่าตนแก่
การกินหมาก

กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าชาวไทยนิยมกินหมากกับพลู (และปูนแดง) โดยมากจะนำใบพลูที่ไม่แก่ หรืออ่อนจนเกินไป มาทาด้วยปูนแดง แล้วกินกับหมากที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวด้วยกัน จะมีน้ำหมากสีแดง ซึ่งจะต้องบ้วนทิ้ง การกินหมากทำให้ฟันดำ แต่ปากแดง ในสมัยโบราณ ชาวไทยทั้งหญิงชาย ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยชรา ล้วนแต่กินมากทั้งสิ้น ส่วนต้นหมากนั้น เป็นพืชที่ขึ้นง่าย พบได้ทั่วไปในสวน หาหมากกินได้ไม่ยาก

เครื่องใช้ในการกินหมาก

การกินหมากจนเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ ทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่วัฒนธรรมหมากอย่างจริงจัง นั่นคือ ใช้หมาก เป็นเครื่องต้อนรับแขก การเตรียมหมากพลูเพื่อต้อบรับแขก จึงนับเป็นการต้อบรับที่ดี ผู้ที่มีฐานะ จะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับหมากที่สวยงาม ปัจจุบันนี้ คนไทยกินหมากน้อยลง แต่ยังมีหมากพลูจัดเป็นชุดขาย โดยมากนิยมนำไปเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • เชี่ยนหมาก เป็นภาชนะสำหรับใส่อุปกรณ์เกี่ยวกับการกินหมาก รวมทั้ง หมาก ใบพลู และปูน ผู้ที่มีฐานะอาจใช้เครื่องโลหะ หรือเครื่องฝังมุก มีลวดลายสวยงาม
  • กรรไกรคีบหมาก เป็นกรรไกรทำด้วยเหล็ก ลักษณะคล้ายคีมมีคมด้านเดียว เอาไว้หั่นหมาก เมื่อจะใช้เอาหมากสอดระหว่างกรรไกรแล้วใช้มือบีบเพื่อผ่าหมาก หรือแบ่งหมากออกเป็นส่วนๆ
  • เต้าปูน นิยมใช้เครื่องเคลือบ สำหรับใส่ปูนแดง
  • ตะบันหมาก เป็นกระบอกทองเหลือง มีวัสดุด้ามยาว ปลายแบนทำหน้าที่คล้ายสิ่ว เอาไว้สำหรับตำลงไปในกระบอกให้แหลก เหมาะสำหรับคนชรา ที่ไม่สามารถเคี้ยวหมากแก่ได้ ภาษาถิ่นใต้เรียกตะบันหมาก ว่า ยอนหมากหรือ ยอน กระบอกที่ทำด้วยทองเหลืองจัดเป็นยอนสำหรับผู้มีอันจะกิน หากเป็นชาวบ้านทั่วไปอาจใช้กระบอกไม้ไผ่เล็กๆ เส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกไม่เกิน 1 นิ้ว เหล็กที่ไว้ตำหมากกับยอน เรียกว่า ตายอน
  • ไหหมาก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดองหมากไว้กินนอกฤดู โดยการเอาหมากสุกใส่ลงในโอ่งหรือไห เติมน้ำสะอาดจนท่วมเก็บไว้กินนอกฤดู ทิ้งไว้ได้เป็นปีจนกว่าฤดูกาลใหม่จะมาถึง

ขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับหมากมีดังนี้

  • ขันหมาก เป็นขันใส่หมากพลู เพื่อแสดงความเคารพ เช่น หากเชิญหมอทำพิธีจะต้องยกขันหมาก ซึ่งในขันหมากดังกล่าวนอกจากมีหมากพลูแล้วยังต้องมีดอกไม้ธูปเทียนและ เงินหัวขันหมาก ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวรวมถึงการที่เจ้าบ่าวจะต้องเตรียมขันหมาก มอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวในวันหมั้น หรือสู่ขอ หรือวันแต่ง การแห่หรือการไปสู่ขอ เรียกว่า แห่ขันหมาก หาก หมั้นแล้วไม่แต่งงาน เรียกว่า หม้ายขันหมาก
การใช้ประโยชน์อย่างอื่น

สารสกัดด้วยเอทานอลจากเนื้อผลหมากสงสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้

ผลหมาก
ผลหมาก ผลเดี่ยว รูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่มีสีส้ม

สรรพคุณทางยาของหมาก

คุณค่าทางโภชนาการของหมาก

การแปรรูปของหมาก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9596&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
http://srdi.yru.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment