เครือหมาน้อย ใบนำมาปรุงอาหาร และเป็นอาหารสัตว์ได้

เครือหมาน้อย

        ชื่ออื่นๆ : กรุงเขมา (กลาง นครศรีธรรมราช) หมอน้อย (อุบลราชธานี)ก้นปิด (ตะวันตกเฉียงใต้) ขงเขมา พระพาย (ภาคกลาง) เปล้าเลือด (แม่ฮ่องสอน) สีฟัน (เพชรบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กรุงเขมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissampelos pareira L.

ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE

ลักษณะของเครือหมาน้อย

ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพันมีขนนุ่ม สั้น คลุมแน่นตามเถา

ใบ ใบเดี่ยว (simple) รูปร่างใบเป็นรูปหัวใจ (cordate) โคนใบแบบก้นปิด (peltate) ใบกว้าง 5.6 – 6.6 เซนติเมตร ยาว 6.9 – 7.6 เซนติเมตร หน้าใบและหลังใบมีขนสีน้ำตาลยาวประมาณ 1 มิลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนปกคลุมหนาแน่นมากกว่าหน้าใบ ก้านใบมีขน ยาว 1.7 – 2.5 เซนติเมตร

ดอก ดอกตัวผู้และตัวเมียเซนติเมตร ขอบใบเรียบ (entire) ใบเป็นมัน หน้าใบหลังใบไม่มีขน ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.4 – 0.6 เซนติเมตร ออกดอกที่ยอดหรือปลายกิ่ง ช่อดอกมี 4 – 5 ดอก ยาว 6.0 – 6.5 เซ็นติเมตร ดอกย่อยแยกจากกัน มีขนาดเล็กสีเขียว

ผล ผลค่อนข้างกลม สีแดง มีขน มีเมล็ดเดียว เล็ก แข็ง รูปโค้ง หรือเป็นรูปเกือกม้า ผิวขรุขระ

เครือหมาน้อย
เครือหมาน้อย ไม้เถาเลื้อยพัน ใบรูปหัวใจ
ดอกเครือหมาน้อย
ดอกเครือหมาน้อย ดอกมีขนาเล็ก สีเขียว

การขยายพันธุ์ของเครือหมาน้อย

การใช้เมล็ดหรือหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่เครือหมาน้อยต้องการ

ประโยชน์ของเครือหมาน้อย

  • อาหารสัตว์ โค กระบือ
  • ชาวบ้านใช้ ใบมาตำ ขยำกับน้ำ นำมาปรุงอาหาร ถ้าทิ้งไว้จะแข็งตัวเหมือนวุ้น
ผลเครือหมาน้อย
ผลเครือหมาน้อย ผลกลม ผลสุกสีแดง

สรรพคุณทางยาของเครือหมาน้อย

  • ลำต้น  ดับพิษไข้ทุกชนิด บำรุงโลหิตสตรี
  • ใบ  พอกแผล ฝี แก้แผลมะเร็ง แก้หิด
  • ราก มีรสหอมเย็น แก้ไข้ ดีซ่าน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงอวัยวะเพศให้แข็งแรง แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ใบ ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง มีสารอัลคาลอยด์ เช่น Hayatinine; Hayatine; Beburine; Sepurine; Cissampeline; Pelosine Quercitol และ Sterol

คุณค่าทางโภชนาการของเครือหมาน้อย

การแปรรูปของเครือหมาน้อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11890&SystemType=BEDO
http://paro6.dnp.go.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment